ซีลีเนียม เป็นเกลือแร่ส่วนน้อยที่สำคัญต่อร่างกาย ถึงแม้จะพบในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ ซีลีเนียม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี อาหารที่มี ซีลีเนียม มากที่สุดได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ เครื่องใน กล้ามเนื้อสัตว์ ปลา หอย ข้าวต่างๆที่ยังไม่ขัดสี ซีเรียล และผลิตภัณฑ์ นม นอกจากนี้ได้จากกระเทียม เห็ด บรอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ บทบาทของ ซีลีเนียม เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆโดยทำ งานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ ซีลีเนียม ทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และ ทำงานร่วมกับวิตามินอี เสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อน การขาด ซีลีเนียม จะนำไปสู่การแก่ก่อนกำหนด ทั้งนี้เพราะว่า ซีลีเนียม ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อการได้รับ ซีลีเนียม ปริมาณสูงๆ เป็นมิลลิกรัมทุกวันทำให้เกิดเป็นพิษได้ เพียง 5 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียผม และเล็บ เกิดเป็นแผลที่ผิวหนัง และระบบประสาท บางคนรับประทาน ซีลีเนียม มากๆ เพราะคิดว่าสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ แต่ในคนยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
* ข้อมูลทั่วไป
o ซี ลีเลียม เป็นเกลือแร่ส่วนน้อยที่สำคัญต่อร่างกาย ถึงแม้จะพบในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซีลีเนียม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี เกลือแร่ชนิดนี้มีจะถูกกระทบเทือน หรือถูกทำลายโดยความร้อน อาหารที่ปรุงแบบสลับซับซ้อนหรืออาหารแปรรูป เช่น พวกข้าวทำเป็นแป้งจะสูญเสีย ซีลีเนียม ไป 50-75% และถ้าต้มจะสูญเสียไปประมาณ 45 %
* ประโยชน์ต่อร่างกาย
o เป็น ส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆโดยทำ งานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ ซีลีเนียม ทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป
o ทำงานร่วมกับวิตามินอี และเสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อนวัย
o มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยส่งอีเล็คตรอน
o ช่วยหัวใจทำงานดีขึ้น และส่งเสริมการสร้างกำลังฃองเซลล์โดยการนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ
o ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ และควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และผม
o ส่งเสริมให้ประจำเดือนของเพศหญิงเป็นไปโดยสม่ำเสมอ และช่วยให้ไข่สุกและจะพบเกลือแร่ชนิดนี้สูงในน้ำเชื้อของผู้ชาย
o ซีลีเนียม เป็นเกลือแร่ต้านพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย
o รักษาความยืดหยุ่นของเนื้อหนัง
o เพิ่มความต้านทานของร่างกาย หรือเพิ่มภูมิคุ้มกัน
o ป้องกันความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว เจ็บหน้าอก ไตถูกทำลาย
o ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับ
o ซีลีเนียม สามารถป้องกันกัมมันตภาพรังสีรวมทั้งโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น ปรอท เงิน แคดเมียม ธาเลียม ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกายและขับถ่ายออกได้เร็วขึ้น
* แหล่งที่พบ
o อาหาร ที่มี ซีลีเนียม มากที่สุดได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ เครื่องใน กล้ามเนื้อสัตว์ ปลา หอย ข้าวต่างๆที่ยังไม่ขัดสี ซีเรียล และผลิตภัณฑ์ นม นอกจากนี้ได้จากกระเทียม เห็ด บรอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ
o ปริมาณของ ซีลีเนียม ที่เราได้ จากพืชผักที่ขึ้นอยู่บนดินที่ปลูกถือว่าได้ ซีลีเนียม โดยตรง และจากสัตว์เนื่องจากพืชผักที่เราให้สัตว์กินซึ่งถือว่าได้ ซีลีเนียม ทางอ้อม และบางครั้งพบว่ามีปริมาณ ซีลีเนียม สูง แต่ถ้ามีกำมะถันปนลงไปในปุ๋ยหรือดินที่ปลูก กำมะถันจะกั้นการดูดซึมเกลือแร่ของพืชได้ด้วย เราจะได้ ซีลีเนียม น้อยหรือไม่ได้เลย
* ปริมาณที่แนะนำ
o ขณะ นี้ยังไม่มีข้อมูลว่าร่างกายต้องการ ซีลีเนียม เท่าใด แต่เชื่อกันว่าหญิงและชายอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปควรได้รับ 0.05-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน เด็ก 1-3 ปี และ 4-6 ปี ควรได้รับ 0.02-0.08 และ 0.03-0.12 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 3-5 เดือน และ 6-11 เดือน ควรได้รับวันละ 0.01-0.04 และ 0.02-0.06 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนทารกแรกเกิดถึง 2 เดือน ให้เลี้ยงด้วยนมแม่
o ข้อควรระวัง
การได้รับ ซีลีเนียม มากเกินไป คือ ในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 2 mcg/g และในอาหารไม่ควรเกิน 3 mcg/g
* ผลของการขาด
o Keshan discase เป็นโรคหัวใจที่พบในประเทศจีน บริเวณพื้นที่ที่มี ซีลีเนียม ในดินต่ำ เชื่อกันว่าเกิดจากไวรัส แต่การขาด ซีลีเนียม ทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ( Total parenteral nutrition ) ก็มีสิทธิ์ขาด ซีลีเนียม ได้ คนไข้พวกนี้มักจะมี Erythocyte glutathione peroxidase activity ต่ำ และ ซีลีเนียม ในพลาสมาและเม็ดเลือดแดงต่ำด้วย
o การขาด ซีลีเนียม จะนำไปสู่การแก่ก่อนกำหนด ทั้งนี้เพราะว่า ซีลีเนียม ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
o ใน การศึกษาเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็ก จะสังเกตเห็นว่าจำนวนฟันผุที่ต้องถอนและอุดมีจำนวนมากขึ้นในเด็กที่มีการขับ ถ่าย ซีลีเนียม ทางปัสสาวะมาก ซึ่งยังไม่มีทฤษฎีอะไรมาอธิบายการสังเกตนี้ได้
o ถ้าขาดในภาวะตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นปัญญาอ่อน
o ถ้าขาด ซีลีเนียม ในตอนเด็ก อาจทำให้เด็กตายอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ
o ทำให้ประสาทผิดปกติ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไวต่อการสัมผัสหรือการถูกกด มีอาการไม่ปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ
o ทำให้การมองเห็นไม่ชัด
o ทำให้เม็ดเลือดแดงเปราะได้
* ผลของการได้รับมากไป
o ถ้า ได้รับ ซีลีเนียม 5-10 ส่วนต่อล้าน จะถือว่าเป็นพิษโดยที่ ซีลีเนียม จะไปแทนกำมะถันในอณูของเมทไธโอนีน ซีสตีน และซีสเตอีน ทำให้ร่างกายใช้กรดอมิโน 3 ตัวนี้ไม่ได้
o การได้รับ ซีลีเนียม ปริมาณ สูงๆ เป็นมิลลิกรัมทุกวันทำให้เกิดเป็นพิษได้ เพียง 5 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียผม และเล็บ เกิดเป็นแผลที่ผิวหนัง และระบบประสาท บางคนรับประทาน ซีลีเนียม มากๆ เพราะคิดว่าสามรถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ แต่ในคนยังไม่มีหลังฐานยืนยันแน่ชัด
* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ ซีลีเนียม ถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก ขึ้นกับปริมาณขึ้นกับปริมาณของสภาพการละลายของสารประกอบ ซีลีเนียม และอัตรา ส่วนระหว่าง ซีลีเนียม และกำมะถัน
+ ร่างกายจะเก็บ ซีลีเนียม ไว้ในตับและไตมากเป็น 4-5 เท่า ของ ซีลีเนียม ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่น ตามปรกติ ซีลีเนียม จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามี ซีลีเนียม ถูกขับออกมาทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง
o อาหารหรือสารเสริมฤทธิ์
+ วิตามินอี
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ กำมะถัน
o การประเมิน
+ ซีลีเนียม ในเลือด ( whole blood ) ควรจะเป็นดัชนีชี้ของปริมาณ ซีลีเนียม ในร่างกายได้ดีกว่าพลาสมา เพราะสามารถวัดปริมาณ ซีลีเนียม ที่อยู่ภายในเซลล์ได้ด้วย แต่ผลปรากฏว่า ซีลีเนียม ที่มีในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบุคคล จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ซีลีเนียม ในเลือดมีประโยชน์เท่า ซีลีเนียม ในพลาสมาใน การประเมินภาวะ ซีลีเนียม จริงหรือไม่ จำเป็นต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบในประชากรเป็นกลุ่มๆ ส่วนวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณ ซีลีเนียม ในเลือดและในพลาสมาใช้ Hydride generation atomic absorption spectrophotometer ( Varian Spectra 20 Varian Australia )
ค่าปรกติในพลาสมา1.28 0.13 micro mol/l( 1 micro g = 0.0127 micro mol )
+ การ ประเมินการทำงานของ enzyme glutathione peroxidase ในเลือด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับระดับ ซีลีเนียม ในเลือด เมื่อระดับ ซีลีเนียม ในเลือดไม่ต่ำกว่า 1.27 micromol/l แต่การทำงานของ enzyme ไม่ได้ขึ้นกับปริมาณ ซีลีเนียม ในเลือดแต่เพียงอย่างเดียวยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำงานของ enzyme ด้วย ถึงอย่างไรก็ดี การวัดการทำงานของ enzyme ยังมีประโยชน์ในการวัดภาวะโภชนาการของ ซีลีเนียม ได้ในช่วงความเข้มข้นช่วง หนึ่งการวัดการทำงานของ enzyme จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะในการสำรวจภาวะโภชนาการของ ซีลีเนียม ในกลุ่ม ประชากรกลุ่มใหญ่ๆ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการที่เหมาะสมที่จะใช้ประเมินภาวะ ซีลีเนียม ใน คลินิกหรือโรงพยาบาล
ที่มา ศูนย์สุขภาพและโภชนาการไทย
ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีนที่มี่ส่วนผสมของซีเลเนี่ยม เกรป ซี-อี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น