วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารเพิ่มภูมิต้านทาน........ป้องกันโรค (Food To Boost Immunity)


สุขภาพที่ดีก็ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ถ้าคุณมีภูมต้านทานที่ดีก็จะทำให้ร่างกายของคุณสามารถต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆได้ การรับประทานหารหารที่ดีและมีประโยชน์เป็นอีกทางที่เราจะเพิ่มภูมคุ้มกันให้กับร่างกายของเรา ขอแนะนำสุดยอดอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค

ผลไม้ตระกูลส้ม และผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามิน ซี นักวิจัยค้นพบว่าอาหารที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยป้องกันเซลส์เม็ดเลือดนิวโทรฟิล(neutrophill)ชึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้งสารฟลาโวนอยส์ในฝักและผลไม้ก็ยังมีส่วนช่ายเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดีผลไม้ที่มีวิตามีนซีสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูล ส้ม ฝรั่ง มะละกอสุก สตรอบอร์รี่ กีวี แตงโม แคนตาลูป ผักที่มีวิตามีน ซีสูงได้แก่ มะเขือเทศ พริกหวาน บรอกโคลี่ ดอกกระหล่ำ คะน้า ตำลึง

แครอท ฟ้กทอง มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป กล้วยไข่ มีสารเบต้าแคโรทีนสูงทำหน้าที่ช่วยเพิ่มการทำงานของเซลส์ที่ดักจับเชื้อโรค(killer cell)

โปรตีนจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ถั่วเมล็ดแห้งและถั่วเปลือกแข็ง การรับประทานโปรตีนจะทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง โปรตีนยังช่วยผลิตและรักษาเซลส์เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวทำลายเชื้อโรค นอกจากนี้การรับประทานโปรตีนคุณยังได้รับประโยชน์ของสารอาหารบำบัดอื่นๆด้วย เช่น วิตามินบี 6 และบี12 ซึ่งช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงยิ่งขึ้นแหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 6สูงได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อไก่ เนื้อหมู กล้วย มันฝรั่ง ผักโขม แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 12 สูงได้แก่ เนื้อสัตว์ล้วน ปลา ไข่ ผลิตภัณพ์นม

ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ซาร์ดีน ทูน่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปลาทะเลมีส่วนช่วยกระตุ้นเซลส์กลุ่มที่เรียกว่าฟาโกไซด์(phagocyte)ซึ่งช่วยกินเชื้อแบคทีเรีย และที่สำคัญปลาทะเลยังเป็นแหล่งของซิลิเนียม นักวิจัยพบว่าซีลีเนียม ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเซลส์ที่ทำหน้าที่ภูมคุ้มกัน(immune cell) นอกจากนี้ซีลีเนียม ยังพบได้มากใน อาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและถั่วบราซิล 


โยเกิร์ต เป็นแหล่งโปรไบโอติก นักวิจัยพบว่าโปรไบโอติกมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณเซลส์เม็ดเลือดขาว และอาจช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากไข้หวัดได้ ในโยเกิร์ตมีแบคทีเรียที่ดีหลายชนิด เช่น แลคโดบาซิลลัส คาเซอิ และริวเทอรี่ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสร์ส่ามีส่วนป้องกันไข้หวัดเพิ่มภูมิต้านทาน รวมทั้งช่วยปรับสมดุลของเชื้อแบคทีเรียในลำใส้อีกด้วย


เห็ด โดยเฉพาะเห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ เห็ดเข็มทอง เป็นแหล่งของเบต้า กลูแคน(Beta Glucan) ซึ่งได้รับการระบุว่ามีความสามารถในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการสร้างเซลส์เม็ดเลือดขาว ช่วยให้มีพลังในการต่อสู้กับเชื้อโรคได้มากยิ่งขึ้น


ถั่วเปลือกแข็ง Wheat Germ(จมูกข้าวสาลี)  เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอี ช่วยเพิ่มการสร้างแอนติบอดี ช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลส์(T cell)ซึ่งทำหน้าที่หลักในการป้องกันการติกเชื้อร่วมกับบีเซลส์(B cell)นักวิจัยจากมหาลัยTufts ในบอสตัน พบว่าการเสริมวิตามินอีวันละ200 iu เป็นประมาณที่เหมาะสมในการเพิ่มภูมิต้านทาน 

 ชาเขียว นักวิจัยพบว่าสารคาเทชิน(catechins)ในชาเขียว ช่วยกระตุ้นการทำงานของทีเซลส์(T cell )เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ น้ำชา 4-6 ถ้วยชา

 กระเทียม ฤทธิ์ของกระเทียมต่อสุขภาพมาจากน้ำมันหอมระเหยอัลลิชิน(Allicin) อัลลิชินมีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ  ต้านเชือ้แบคทีเรียและไวรัส เมื่อกินร่วมกับวิตามินซีจะช่วยฆ่าเชื้อและป้องกันหวัด




 







วิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน(Fat-Soluble Vitamins)







วิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน

วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่ปกป้องเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เยื่อบุลำไส้ เยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นต้น เมื่อขาดวิตามินเอ เยื่อบุต่างๆ จะเหี่ยวฝ่อ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งวิตามินเอจะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง และยังช่วยให้สามารถมองเห็นในที่มืดได้ดี ถ้าขาดวิตามินเอจะทำให้การปรับตัวของตาในที่มืดไม่ดี คนสมัยก่อนเรียกอาการดังกล่าวว่า “ตามัวตาฟาง” และวิตามินเอยังมีบทบาทช่วยในการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก สมอง และอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าวิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ซึ่งการขาดวิตามินเอทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอ มองเห็นไม่ดีในเวลากลางคืน ติดเชื้อง่าย และในเด็กเล็กหากขาดวิตามินเออย่างรุนแรงจะทำให้เสียชีวิตได้ ในทางตรงกันข้าม หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ผิวแห้ง ผมร่วง ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ปวดกระดูก สำหรับหญิงมีครรภ์ถ้าได้รับวิตามินเอมากเกินไปจะทำให้แท้งได้
    เมื่อรู้จักวิตามินเอก็ต้องรู้จักเบตา-แคโรทีนควบ คู่ไปด้วย เพราะเบตา-แคโรทีนคือสารตั้งต้นของวิตามินเอ เมื่อกินอาหารที่มีเบตา-แคโรทีน ร่างกายของเราจะเปลี่ยนเบตา-แคโรทีนให้เป็นวิตามินเอได้ ในแต่ละวันร่างกายต้องการวิตามินเอ 800 ไมโครกรัม อาร์อี หรือ 2,664 หน่วยสากล หากเป็นเบตา-แคโรทีนจะเท่ากับ 4,800 ไมโครกรัม (จากเอกสาร “สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป” จัดทำโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากของอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข)
    อาหารที่ให้วิตามินเอสูง ได้แก่ ตับสัตว์ทุกชนิด เครื่องในสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น ส่วนเบตา-แคโรทีนพบมากในพืชผักผลไม้สีเหลืองและสีส้มแดง เช่น มะละกอ แครอต ผักหวาน ผักชีฝรั่ง ตำลึง ฟักทอง ผักกระเฉด ใบชะพลู มะเขือเทศ ผักบุ้ง คะน้า เป็นต้น
    การกินอาหารที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้ได้รับ วิตามินเอหรือเบตา-แคโรทีน โดยควรกินควบคู่กับอาหารที่มีไขมันด้วย จะช่วยให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี ซึ่งการกินอาหารธรรมชาติดังกล่าวนี้จะไม่ทำให้ได้รับวิตามินเอมากเกินความ ต้องการของร่างกาย แต่หากกินในรูปของเม็ดยาหรือในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจทำให้ได้รับใน ปริมาณมากเกินไป และวิตามินชนิดนี้ถ้าร่างกายใช้ไม่หมดก็จะสะสมไว้ในร่างกาย ไม่สามารถขับทิ้งได้ง่ายเหมือนวิตามินที่ละลายในน้ำ นอกจากนี้ในต่างประเทศมีรายงานว่าพบผู้ที่กินเบตา-แคโรทีนในรูปของผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารเป็นมะเร็งที่ปอดด้วย

    วิตามินดี เป็นวิตามินที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสไปใช้ในร่างกาย จึงช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ในแต่ละวันร่างกายต้องการวิตามินดีเพียง 5 ไมโครกรัม หรือ 200 หน่วยสากล ซึ่งนับว่าต้องการในปริมาณที่น้อยมาก และร่างกายของคนเรายังสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากแสงแดดอ่อน ๆ คนไทยเราโชคดีที่บ้านเรามีแสงแดดมาก จึงไม่ต้องกังวลว่าจะขาดวิตามินดี ยกเว้นในคนที่ไม่ได้รับหรือไม่ถูกแสงแดดเลย ซึ่งก็เป็นไปได้ยาก เพราะนอกจากร่างกายจะสังเคราะห์วิตามินดีได้จากแสงแดดแล้ว ในอาหารที่เรากินกัน เช่น ไข่แดง นม ปลาที่มีไขมัน ตลอดจนธัญพืช ก็มีวิตามินดีอยู่มาก คนไทยจึงไม่ควรกังวลว่าจะขาดวิตามินดีเหมือนชาติตะวันตกที่ประเทศเขาไม่ค่อย มีแสงแดด นอกจากนี้การได้รับวิตามินดีสูงเกินไปอาจทำให้มีแคลเซียมตกตะกอนเป็นหินปูน เกาะอยู่ที่ไต (นิ่วในไต) ได้

    วิตามินอี เป็นวิตามินอีกชนิดหนึ่งที่มีคนให้ความสนใจค่อนข้างมาก มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้เยื่อบุและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เพราะวิตามินอีจะทำให้ผนังเซลล์ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี ในแต่ละวันร่างกายต้องการวิตามินอีเพียง 10 มิลลิกรัม อัลฟา ที อี หรือ 15 หน่วยสากล ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะถ้าขาดจะทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากได้รับมากเกินไป 30- 200 เท่าของปริมาณที่แนะนำ และกินติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีอาการเริ่มตั้งแต่ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึม จนกระทั่งริมฝีปากอักเสบ และกล้ามเนื้อไม่มีแรง นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่าการกินวิตามินอีในปริมาณสูงกว่าที่แนะนำ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้ ซึ่งการได้รับวิตามินอีในปริมาณสูงๆ นั้นจะเกิดขึ้นได้จากการกินในรูปของเม็ดยา เพราะหากได้รับจากอาหารจะไม่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอีมากเกินไปจนเกิด ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
    อาหารที่มีวิตามินอีสูงคือน้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น ดังนั้นหากใช้น้ำมันพืชดังกล่าวปรุงอาหารเป็นประจำก็ไม่ต้องกังวลว่าจะขาด วิตามินอี นอกจากนี้ในท้องตลาดปัจจุบันยังพบว่ามีการเสริมวิตามินอีในน้ำมันปาล์มด้วย
    วิตามินอีได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันนอกจากจะพบว่ามีการเสริมวิตามินอีในอาหารหรือผลิตออกจำหน่ายในรูป เม็ดยาแล้ว ยังมีการเสริมวิตามินอีลงในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วแทบไม่พบปัญหาการขาดวิตามินอีในคนไทย ยกเว้นในคนที่มีลำไส้ผิดปกติในการดูดซึมซึ่งไม่สามารถดูดซึมไขมันได้ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินอีไปใช้ได้ เพราะวิตามินอีเป็นวิตามินชนิดละลายในไขมัน นอกจากนี้อาจพบได้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากร่างกายทารกยังมีการสะสมวิตามินอีได้น้อย ดังนั้นคนปกติทั่วไปจึงไม่ควรกังวลว่าจะขาดวิตามินอี และถ้าคิดจะซื้อวิตามินอีในรูปของเม็ดยามากินควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

    วิตามินเค เป็นวิตามินที่มีคนรู้จักและกล่าวถึงน้อยกว่าวิตามินชนิดอื่นที่กล่าวมา มีหน้าที่สำคัญคือช่วยทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยสร้างโปรตีนชนิดที่มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ในแต่ละวันร่างกายต้องการวิตามินเคเพียง 80 ไมโครกรัม ซึ่งนอกจากอาหารประเภทใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม ที่มีวิตามินเคแล้ว ยังพบได้ในตับสัตว์และเนย รวมทั้งแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนเรายังสามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้อีก ด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลว่าจะขาดวิตามินเค ยกเว้นในกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ร่างกายยังสะสมวิตามินเคได้น้อย เมื่อคลอดออกมาแพทย์ก็จะฉีดวิตามินเคให้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดจึงไม่ต้องวิตกว่าลูกของตนจะขาดวิตามิ นเค และผู้ที่จะมีปัญหาอีกกลุ่มคือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการดูดซึมไขมัน จึงทำให้ไม่สามารถดูดซึมวิตามินเคได้ เนื่องจากวิตามินเคเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จึงต้องมีไขมันเป็นตัวนำเพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อร่างกายมีปัญหาการดูดซึมไขมันจึงดูดซึมวิตามินเคไม่ได้ ส่งผลให้ขาดวิตามินเค นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคน ที่ควรจะได้รับวิตามินเคมากกว่าคนปกติทั่วไป เพราะเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเค คือผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคตับ ได้แก่ ดีซ่าน ตับแข็ง ซึ่งควรได้รับวิตามินเคมากกว่าคนทั่วไป
    

References

   วิตามิน...กินให้เป็น (ตอนที่ 2) http://www.tistr-foodprocess.net/food_health/food_health19.htm

     http://www.ext.colostate.edu/pubs/foodnut/09315.html

วิตามินที่ละลายในน้ำ(Water-Soluble Vitamins)






วิตามินที่ละลายในน้ำ
 

วิตามินเป็นสารอาหารที่จำ เป็นต่อร่างกายของคนเรา เพราะ แม้ว่า ร่างกายต้องการวิตามินไม่มากนัก แต่ก็ขาดไม่ได้ เนื่องจาก จะทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ถ้าขาดวิตามินซี จะทำให้เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน  ถ้าขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา ถ้าขาดวิตามินเอ จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นในที่มืด เป็นต้น
นักวิชาการแบ่งวิตามินออกเป็น 2 ชนิดตามคุณสมบัติของวิตามิน ชนิดแรกคือวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายจะนำวิตามินไปใช้ประโยชน์ได้ต้องมีน้ำเป็นตัวพาไป ได้แก่ วิตามินบีรวม และวิตามินซี
วิตามินอีกชนิดหนึ่งคือ วิตามินที่ละลายในน้ำมัน   วิตามินชนิดนี้ ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต้องมีน้ำมันเป็นตัวนำ วิตามินในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค (อ้างอิงที่ 1)
วิตามินบีรวมประกอบด้วยวิตามินบีหลายตัว ที่รู้จักแพร่หลายคือ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 โฟเลต และไนอะซิน วิตามินกลุ่มนี้ แม้ว่าจะบริโภคเกินความต้องการในแต่ละวัน ก็จะไม่มีอันตราย เนื่องจาก ร่างกายจะไม่สะสมให้เกิดผล เสียต่อสุขภาพ เนื่องจากวิตามินกลุ่มนี้มีคุณสมบัติละลายในน้ำ เมื่อได้รับมากเกินไปร่างกายก็จะขับออกเองได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำบัญชี แสดงปริมาณของวิตามินที่ละลายในน้ำที่แนะนำให้ควรบริโภคประจำวันสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes หรือThai RDI) รวมถึงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของของวิตามินที่ละลายในน้ำแต่ละตัว ตามรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1: แสดงปริมาณของวิตามินที่ละลายในน้ำที่แนะนำให้บริโภคต่อ 1 วันสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร ของวิตามินที่ละลายในน้ำ
วิตามิน
ที่ละลายในน้ำ
ปริมาณที่แนะนำ
ให้บริโภคต่อ 1 วัน
ข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับ
หน้าที่ของสารอาหาร
วิตามินบี 1
(Thiamin)
1.5 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
-
มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
วิตามินบี 2
(Riboflavin)
1.7 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
ไนอะซิน (Niacin)
หรือวิตามินบี 3
20 มิลลิกรัม เอ็น อี
(mg NE)
- ช่วยให้เยื่อบุทางเดินอาหารและผิวหนังอยู่ในสภาพปกติ
-
ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
กรดแพนโทธินิค (Pantothenic Acid)
หรือวิตามินบี 5
6 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยในการใช้ประโยชน์ (เมตาบอลิซึม) ของไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
-
ช่วยในการใช้ประโยชน์ของไขมันและคาร์โบไฮเดรต
-
ช่วยในการเมตาบอลิซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต
วิตามินบี 6
(Vitamin B6)
2 มิลลิกรัม (mg)
- มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์
-
มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาท
โฟเลต (Folate)
หรือวิตามินบี 9
200 ไมโครกรัม (μg)
- มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
วิตามินบี 12
(Vitamin B12)
2 ไมโครกรัม (μg)
- มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
-
มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
วิตามินซี
(Vitamin C)
60 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
-
มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
-
มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน
(อ้างอิงที่ 2-3)
นอกจากนี้โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารอาหารอีกตัวที่ละลายในน้ำ และมักจะถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับวิตามินบีรวม โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆอีกหลายอย่าง ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน (Adequate Intake) สำหรับผู้ใหญ่ เพศชาย และ หญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ (อ้างอิงที่ 4)
วิตามินเหล่านี้ มีอยู่ในอาหารต่างๆอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะรีบเร่งในชีวิตประจำวันส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ไป ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่จึงเป็นไปได้ยาก เช่น ผู้ที่ทำงานในสำนักงาน ช่วงเช้ารีบเร่งจนไม่ได้รับประทานอาหารเช้า กลางวันก็มักจะรับประทานอาหารจานเดียว เป็นต้น ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยป้องกันให้ไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้คือ รับประทานเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารเหล่านี้ลงไป หรืออาจรับประทานในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์ที่เป็นยา เนื่องจากจะมีปริมาณของวิตามินสูงมาก ซึ่งทั่วๆไปนั้น มักจะใช้รักษาผู้ป่วยที่แสดงอาการ ของการขาดวิตามิน แล้วเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง :
    • วิตามิน...กินให้เป็น (ตอนที่ 1). ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). http://www.tistr-foodprocess.net/food_health/food_health18.htm
    • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182 ) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
    • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
    • Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline. The National Academies Press. pages 390-422.  http://www.nal.usda.gov/fnic/DRI//DRI_Thiamin/390-422_150.pdf