ปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์เกิดจากความเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคมะเร็ง ที่มีสาเหตุมาจากความเครียด กรรมพันธุ์ และการสะสมของสารพิษในร่างกาย เป็นผลให้นักวิจัยพัฒนาหาสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง สารหนึ่งในงานวิจัยนั้น คือ สารไลโคพีน (lycopene) เป็นสารอนุพันธุ์ในกลุ่มแคโร- ทีนอยด์ (carotenoid) กลุ่มเดียวกันกับเบต้า-คาโรทีน (B-carotene) มีโครงสร้างทางเคมีแบบ unsaturated hydrocarbon ประกอบด้วย พันธะคู่แบบ conjugated 11 คู่ และ unconjugated 2 คู่ ซึ่งเป็นสารให้สีเหลือง ส้มและแดงในผลไม้ เช่น เกรปฟรุ๊ต แอพริคอท ส้ม แตงโม โรสฮิป มะละกอ และส่วนใหญ่พบในมะเขือเทศ เป็นต้น
ไลโคพีน มีโครงสร้างทางเคมีที่มีพันธะคู่มากทำให้ง่ายต่อการเกิดปฏิกริยากับสารอนุมูลอิสระ หรือ free radical ที่เป็นสารอนุพันธ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งทรวงอก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดปัญหาการอุดตันของเส้นเลือดแดงเนื่องจากไลโคพีนไปช่วยเพิ่มปริมาณ LDL cholesterol ในกระแสเลือดโดยไปลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และยังถูกนำมาศึกษาในการเป็นวัคซีนต่อต้านไวรัส HIV และไวรัสตับอักเสบชนิดบีด้วย จากการศึกษาในชายจำนวน 48,000 คน พบว่ารับประทานซอสมะเขือเทศอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ปริมาณไลโคพีน 19 mg/day) มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนปกติ 16 % (www.mercola.com [Jan-09-2006])
ในการทานอาหารเพื่อให้ได้สารไลโคพีนนั้น จำเป็นต้องนำมะเขือเทศหรือผลไม้นั้นมาผ่านกระบวนการให้ความร้อน เนื่องจากในธรรมชาติโครงสร้างของสารดังกล่าวจะจับตัวกับสารโปรตีน และสามารถแยกตัวออกได้ด้วยความร้อน จะสังเกตเห็นได้ว่าปริมาณไลโคพีนในตารางที่ 1 อาหารที่ผ่านความร้อนจะมีปริมาณไลโคพีนมากกว่า ดังนั้นนอกจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ถ้าเสริมด้วยสารไลโคพีนรับรองท่านจะมีสุขภาพดี มะเร็งไม่กล้าถามหาแน่
Reference ; Helmenstine, A.M., 2006. Biochemistry of Lycopene.
www.Chemistry.about.com/cs/biochemistry/a/aa050401a.html [Jan-09-2006] Clinton,.S.K. 1988. Lycopene : Chemistry, biology and implication for human health and disease. Nutrition review. 56 (2) : 35-51. www.mercola.com . 2006. Eat tomatoes to foil prostate cancer. [Jan-09-2006].Ishida, B.K., Chapman., M.N., 2004. A comparison of carotenoid content and total antioxidant activity catsup from several commercial sources in the United State. J.Agri Food Chem. 52 (26) : 8017- 8020.
ที่มา :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น