ชาเขียว ((ญี่ปุ่น: 緑茶 ryokucha), จีน: 绿茶 - พินอิน: lǜchá), อังกฤษ: green tea) เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในตระกูล Camellia sinensis (เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาดำ และชาอู่หลง ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว มีรสฝาดไม่มีกลิ่น แต่จะมีการแต่งกลิ่นเผื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น
ประวัติชาเขียว
มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมีแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆในช่วงศตวรรษต่างๆดังนี้- ช่วงศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ
- ช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
- สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ
- สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279
- สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้
ประเภทของชาเขียว มี 2 ประเภท
1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
วิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง
ใบชาเขียวมีสารสำคัญ 2 ชนิด
กาเฟอีน(caffein)
ซึ่งมีอยู่ในชาเขียวประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารชนิดนี้เองที่ทำให้น้ำชาสามารถกระตุ้น ให้สมองสดชื่น แจ่มใส หายง่วง เนื่องจากกาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต ผู้ป่วยโรคหัวใจก็ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากกาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ
แทนนิน หรือ ฝาดชา (tea tannin)
พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก เป็นสารที่มีรสฝาดที่ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มชาเขียวให้ได้รสชาติที่ดีจึงไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ ในกานานเกินไป เพราะแทนนินจะละลายออกมามากทำให้ชาเขียวมีรสขม แต่ถ้าหากดื่มชาเขียวเพื่อจุดประสงค์ในการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชา นาน ๆ เพื่อให้มีปริมาณแทนนินออกมามาก แทนนินยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า สารแคทิชิน (catechin) ซึ่งเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในชาเขียว มีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็ง
วิธีการชงชา
1. ใส่ใบชาในกาชาประมาณ 1/6 -1/4
2. รินน้ำเดือดลงในกาชาครึ่งหนึ่ง เททิ้งทันที (ไม่ควรเกิน 5 วินาที) เพื่อล้าง และอุ่นใบชาให้ตื่นตัว
3. รินน้ำเดือดลงในกาชาจนเต็ม ปิดฝากา ทิ้งไว้ประมาณ 45 - 60 วินาที
4. รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม (การรินแต่ละครั้ง ต้องรินน้ำให้หมดกา มิฉะนั้น จะทำให้น้ำชาที่เหลือมีรสขม ฝาดมากขึ้น เสียรสชาติ) ใบชาสามารถชงได้ 4 - 6 ครั้ง หรือจนกว่ากลิ่นชาจะหายหอมไป และในการชงแต่ละครั้ง ให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10 - 15 วินาที
การชงชาให้ได้รสชาติดี มีข้อสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปริมาณใบชา จะใช้ใบชาเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของใบชา เช่น ชาที่มีรูปกลมแน่น กลมกลวม หรือเป็นเส้น ถ้าใช้ใบชาที่มีลักษณะกลมแน่น จะใช้ชาประมาณ 25 % ของกาชา ใบชาเมื่อแช่อยู่ในน้ำร้อน จะเริ่มคลี่ตัวออกทีละน้อย จนเป็นใบชัดเจน ถ้าใส่มากเกินไป จะทำให้การคลาย ตัวไม่สะดวก ซึ่งรสชาติที่ชงออกมาจะไม่ได้ตามมาตรฐานของชานั้นๆ และ การเสียของใบชา เมื่อคลายตัวออกมาเต็มที่ ควรจะมีปริมาณประมาณ 90% ของกาชา
2. อุณหภูมิน้ำ น้ำที่ชงชาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส แต่ต้องดูว่าจะชงชาประเภทใด เช่น อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะสำหรับชงชาที่ทรงแน่นกลม อุณหภูมิ 80 - 90 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับชาที่มีรูปร่างบอบบาง แตกหักง่าย หรือชาที่มีใบอ่อนมาก อุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส ใช้ชงกับชาเขียวทั่วๆไป
3. เวลา การใช้เวลานานหรือไม่นานนั้น จะบอกได้ว่า น้ำชาจะอ่อนหรือ แก่ โดยปกติประเภทกลมแน่น จะใช้เวลาในครั้งแรกประมาณ 40 - 60 วินาที ครั้งต่อๆไป เพิ่มอีกครั้งละ 10 - 15 วินาที/ครั้ง
4. กาชา กาที่ใช้ควรเป็นกาที่ทำจากดินเผา กาดินเผาจะเก็บความร้อน ได้ดีกว่า และให้การตอบสนองที่ดีกว่ากาที่ทำจากวัสดุอื่น
สรรพคุณของชาเขียว
ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน รวมถึงสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ด้วย จากงานวิจัยพบว่า ดื่มชาเขียวทุกวันวันละประมาณ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้น ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในชาเขียวมีสารแอนติออกซิแดนท์ โพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณของชาเขียวอีกประการหนึ่ง คือช่วยลดน้ำหนัก จากการวิจัยยังพบอีกว่าสารคาเฟอีนและสารฝาดแคททิคิน ในชาเขียวทำให้เมตาบอลิซึมใน ร่างกายดีขึ้น เผาผลาญพลังงานได้มาก เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ชาเขียวทำมาจากใบชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาดำ แต่การทำชาดำจะต้องผ่านการหมัก ส่วนชาเขียวทำจากใบชาตากแห้งเท่านั้น
[แก้] ชาเขียวกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ
1. การใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
2. การใช้ชาเขียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
3. การใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม ช่วยต่อต้านมะเร็งตับ
4. การใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด
5. การใช้ชาเขียวร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต
6. การใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
7. การใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
8. การใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ
9. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง
10. การใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น บำรุงหัวใจ แก้คอแห้ง
11. การใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะบำรุงสมอง เสริมความจำ
12. การใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบคอ เสียงแหบ
13. การใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดอาการบวมน้ำ
14. การใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ
15. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็ว
ล้างพิษด้วยชาเขียว
ชาเขียว ได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณเป็นยาบำบัดมายาวนาน และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อีก ด้วย โดยเฉพาะคุณสมบัติที่โดดเด่นของชาเขียวก็ คือ การช่วยล้างพิษออกจากร่างกายได้ลึกถึงระดับเซลล์ สรุปกลไกการทำงานของชาเขียวในการล้างพิษได้ดังนี้
1. ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ[4]ของชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ชะลอความชรา ลดขบวนการทำลายสารพันธุกรรมและยับยั้งการก่อมะเร็ง
2. ความจำเพาะเจาะจงในการกระตุ้นเอ็นไซม์ที่ ทำหน้าที่ขจัดสารพิษในตับของชาเขียวช่วยเพิ่มขบวนการขจัดสารพิษที่ได้รับจาก อาหาร ยา และสารพิษอื่นๆ ได้ดีขึ้น และทำให้สุขภาพของตับดีขึ้นด้วย
3. ความสามารถในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลมะเร็งของชาเขียว ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลที่ผิดปกติ เนื้องอก และเซลมะเร็งได้
4. ชาเขียวช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้มีการพัฒนาการทำงานได้ดี ขึ้น จึงลดการแทนที่จากแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ส่งผลให้การเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
5. ช่วยลดคลอเรสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ชาเขียวจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจและสมอง
6. ชาเขียวสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ และบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ
7. ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำหนักโดยออกฤทธิ์ร่วมกับ Caffeine ในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน ในระหว่างวันของร่างกายให้มากขึ้น
ข้อดีของชาเขียว
ต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียว ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย
ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น
กลิ่นปากและแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองชี้ว่ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากอย่างเดียวนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลการศึกษาสรุปว่า สารพอลิฟีนอลส์ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียถึง 30% และลดการผลิตของสารประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้ลมหายใจเหม็นบูด นอกจากนี้ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุ โดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน คนส่วนใหญ่จะดื่มชาเขียวหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ลมหายใจและกลิ่นปากสะอาดสดชื่น
ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์ และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนตี พิมพ์ไว้ว่า สารแคเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะ EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี จับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า "ทีเซลล์" (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวี
โทษของชาเขียว
ชาเขียวจะมีประโยชน์ แต่ชาที่เข้มข้นเกินไป ก็อาจจะมีโทษได้เช่นกัน
1. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ จะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
2. หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
3. ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือเต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชา ก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)
4. คนที่เป็นโคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตู้นให้ผนังกระเพราะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาวะเป็นกรดมา มากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์ เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร
5. การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรกินอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย
6. การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ
7. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง
8. การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้
9. ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนิน ไม่ให้ออกฤทธิ์
แม้จะมีการวิจัยต่างๆ มากมายที่ระบุว่าสาร EGCG[5] ในคาเทซินซึ่งมีอยู่ในชาจะสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ถึง 50% แต่การทดลองบางแห่งหนึ่งก็พบว่าการ EGCG เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เพราะความสลับซับซ้อนของเอมไซม์และฮอร์โมนของสัตว์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการดื่มชาเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
วิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง
ใบชาเขียวมีสารสำคัญ 2 ชนิด
กาเฟอีน(caffein)
ซึ่งมีอยู่ในชาเขียวประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารชนิดนี้เองที่ทำให้น้ำชาสามารถกระตุ้น ให้สมองสดชื่น แจ่มใส หายง่วง เนื่องจากกาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต ผู้ป่วยโรคหัวใจก็ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากกาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ
แทนนิน หรือ ฝาดชา (tea tannin)
พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก เป็นสารที่มีรสฝาดที่ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มชาเขียวให้ได้รสชาติที่ดีจึงไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ ในกานานเกินไป เพราะแทนนินจะละลายออกมามากทำให้ชาเขียวมีรสขม แต่ถ้าหากดื่มชาเขียวเพื่อจุดประสงค์ในการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชา นาน ๆ เพื่อให้มีปริมาณแทนนินออกมามาก แทนนินยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า สารแคทิชิน (catechin) ซึ่งเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในชาเขียว มีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็ง
วิธีการชงชา
1. ใส่ใบชาในกาชาประมาณ 1/6 -1/4
2. รินน้ำเดือดลงในกาชาครึ่งหนึ่ง เททิ้งทันที (ไม่ควรเกิน 5 วินาที) เพื่อล้าง และอุ่นใบชาให้ตื่นตัว
3. รินน้ำเดือดลงในกาชาจนเต็ม ปิดฝากา ทิ้งไว้ประมาณ 45 - 60 วินาที
4. รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม (การรินแต่ละครั้ง ต้องรินน้ำให้หมดกา มิฉะนั้น จะทำให้น้ำชาที่เหลือมีรสขม ฝาดมากขึ้น เสียรสชาติ) ใบชาสามารถชงได้ 4 - 6 ครั้ง หรือจนกว่ากลิ่นชาจะหายหอมไป และในการชงแต่ละครั้ง ให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10 - 15 วินาที
การชงชาให้ได้รสชาติดี มีข้อสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปริมาณใบชา จะใช้ใบชาเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของใบชา เช่น ชาที่มีรูปกลมแน่น กลมกลวม หรือเป็นเส้น ถ้าใช้ใบชาที่มีลักษณะกลมแน่น จะใช้ชาประมาณ 25 % ของกาชา ใบชาเมื่อแช่อยู่ในน้ำร้อน จะเริ่มคลี่ตัวออกทีละน้อย จนเป็นใบชัดเจน ถ้าใส่มากเกินไป จะทำให้การคลาย ตัวไม่สะดวก ซึ่งรสชาติที่ชงออกมาจะไม่ได้ตามมาตรฐานของชานั้นๆ และ การเสียของใบชา เมื่อคลายตัวออกมาเต็มที่ ควรจะมีปริมาณประมาณ 90% ของกาชา
2. อุณหภูมิน้ำ น้ำที่ชงชาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส แต่ต้องดูว่าจะชงชาประเภทใด เช่น อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะสำหรับชงชาที่ทรงแน่นกลม อุณหภูมิ 80 - 90 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับชาที่มีรูปร่างบอบบาง แตกหักง่าย หรือชาที่มีใบอ่อนมาก อุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส ใช้ชงกับชาเขียวทั่วๆไป
3. เวลา การใช้เวลานานหรือไม่นานนั้น จะบอกได้ว่า น้ำชาจะอ่อนหรือ แก่ โดยปกติประเภทกลมแน่น จะใช้เวลาในครั้งแรกประมาณ 40 - 60 วินาที ครั้งต่อๆไป เพิ่มอีกครั้งละ 10 - 15 วินาที/ครั้ง
4. กาชา กาที่ใช้ควรเป็นกาที่ทำจากดินเผา กาดินเผาจะเก็บความร้อน ได้ดีกว่า และให้การตอบสนองที่ดีกว่ากาที่ทำจากวัสดุอื่น
สรรพคุณของชาเขียว
ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน รวมถึงสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ด้วย จากงานวิจัยพบว่า ดื่มชาเขียวทุกวันวันละประมาณ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้น ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในชาเขียวมีสารแอนติออกซิแดนท์ โพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณของชาเขียวอีกประการหนึ่ง คือช่วยลดน้ำหนัก จากการวิจัยยังพบอีกว่าสารคาเฟอีนและสารฝาดแคททิคิน ในชาเขียวทำให้เมตาบอลิซึมใน ร่างกายดีขึ้น เผาผลาญพลังงานได้มาก เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ชาเขียวทำมาจากใบชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาดำ แต่การทำชาดำจะต้องผ่านการหมัก ส่วนชาเขียวทำจากใบชาตากแห้งเท่านั้น
[แก้] ชาเขียวกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ
1. การใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
2. การใช้ชาเขียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
3. การใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม ช่วยต่อต้านมะเร็งตับ
4. การใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด
5. การใช้ชาเขียวร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต
6. การใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
7. การใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
8. การใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ
9. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง
10. การใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น บำรุงหัวใจ แก้คอแห้ง
11. การใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะบำรุงสมอง เสริมความจำ
12. การใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบคอ เสียงแหบ
13. การใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดอาการบวมน้ำ
14. การใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ
15. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็ว
ล้างพิษด้วยชาเขียว
ชาเขียว ได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณเป็นยาบำบัดมายาวนาน และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อีก ด้วย โดยเฉพาะคุณสมบัติที่โดดเด่นของชาเขียวก็ คือ การช่วยล้างพิษออกจากร่างกายได้ลึกถึงระดับเซลล์ สรุปกลไกการทำงานของชาเขียวในการล้างพิษได้ดังนี้
1. ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ[4]ของชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ชะลอความชรา ลดขบวนการทำลายสารพันธุกรรมและยับยั้งการก่อมะเร็ง
2. ความจำเพาะเจาะจงในการกระตุ้นเอ็นไซม์ที่ ทำหน้าที่ขจัดสารพิษในตับของชาเขียวช่วยเพิ่มขบวนการขจัดสารพิษที่ได้รับจาก อาหาร ยา และสารพิษอื่นๆ ได้ดีขึ้น และทำให้สุขภาพของตับดีขึ้นด้วย
3. ความสามารถในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลมะเร็งของชาเขียว ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลที่ผิดปกติ เนื้องอก และเซลมะเร็งได้
4. ชาเขียวช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้มีการพัฒนาการทำงานได้ดี ขึ้น จึงลดการแทนที่จากแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ส่งผลให้การเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
5. ช่วยลดคลอเรสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ชาเขียวจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจและสมอง
6. ชาเขียวสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ และบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ
7. ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำหนักโดยออกฤทธิ์ร่วมกับ Caffeine ในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน ในระหว่างวันของร่างกายให้มากขึ้น
ข้อดีของชาเขียว
ต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียว ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย
ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น
กลิ่นปากและแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองชี้ว่ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากอย่างเดียวนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลการศึกษาสรุปว่า สารพอลิฟีนอลส์ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียถึง 30% และลดการผลิตของสารประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้ลมหายใจเหม็นบูด นอกจากนี้ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุ โดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน คนส่วนใหญ่จะดื่มชาเขียวหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ลมหายใจและกลิ่นปากสะอาดสดชื่น
ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์ และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนตี พิมพ์ไว้ว่า สารแคเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะ EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี จับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า "ทีเซลล์" (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวี
โทษของชาเขียว
ชาเขียวจะมีประโยชน์ แต่ชาที่เข้มข้นเกินไป ก็อาจจะมีโทษได้เช่นกัน
1. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ จะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
2. หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
3. ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือเต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชา ก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)
4. คนที่เป็นโคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตู้นให้ผนังกระเพราะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาวะเป็นกรดมา มากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์ เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร
5. การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรกินอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย
6. การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ
7. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง
8. การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้
9. ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนิน ไม่ให้ออกฤทธิ์
แม้จะมีการวิจัยต่างๆ มากมายที่ระบุว่าสาร EGCG[5] ในคาเทซินซึ่งมีอยู่ในชาจะสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ถึง 50% แต่การทดลองบางแห่งหนึ่งก็พบว่าการ EGCG เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เพราะความสลับซับซ้อนของเอมไซม์และฮอร์โมนของสัตว์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการดื่มชาเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น