วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันในเลือดอย่างหนึ่ง แต่ต่างจากโคเลสเตอรอลที่คนทั่วไปรู้จักกันดี เมื่อเรากินอาหารที่มีจำนวนแคลอรีมากกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ แล้วเก็บตุนไว้ในเซลล์ไขมัน ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมีผลเสียต่อสุขภาพ
ผลเสียต่อสุขภาพที่ว่าคือ   แม้โคเลสเตอรอลจะไม่สูงแต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงก็จะทำให้มีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากนี้ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบซึ่งอาจร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้
ภาวะที่อาจจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง มีดังนี้
  • ดื่มเหล้ามาก แอลกอฮอล์ทำให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น และทำให้การลดลงของไขมันในเลือดช้ากว่าปกติ
  • การกินอาหารที่มีแคลอรีมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตายมาก ส่วนเกินเหล่านี้จะกลายไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย
  • คนที่มีอายุมากขึ้น โดยธรรมชาติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นกว่าคนอายุน้อย
  • ยาบางอย่างที่บริโภคเข้าไป อาจทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุม กำเนิดบางชนิด
  • พันธุกรรมมีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ขึ้น ถ้าท่านมีญาติที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ท่านก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะภาวะนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • โรคบางอย่าง ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย โรคไต และโรคตับ
ท่านที่สงสัยว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของท่านสูงหรือไม่ อาจตรวจได้โดยการเจาะเลือด แต่ก่อนที่จะไปตรวจต้องเตรียมตัวโดยการงดอาหารตั้งแต่มื้อเย็นก่อนวันไปตรวจ จนถึงรุ่งเช้า หมอจะสั่งเจาะเลือดตรวจ Lipid Profile ซึ่งเป็นการตรวจไขมันหลายตัว รวมทั้ง HDL Cholesterol (โคเลสเตอรอลตัวดี) LDL Cholesterol (โคเลสเตอรอลตัวร้าย) และไตรกลีเซอไรด์ด้วย การตรวจนี้จะทำให้รู้ภาพรวมของไขมันในเลือด
ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงหรือไม่สูงนั้นจัดโดยความสัมพันธ์ กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนี้คือ
- ระดับสูงมาก คือ 500 มิลลิกรัมหรือมากกว่าต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับสูง คือ 200 มิลลิกรัมต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับกลาง คือ 150 ถึง 199 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับปกติ คือ 1498 มิลลิกรัมหรือต่ำกว่า ต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
การควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ สามารถทำได้โดยการลดน้ำหนัก
ลดการกินของหวานหรืออาหารพวกน้ำตาล เช่น ของหวานพวกทองหยิบ ฝอยทอง คุกกี้ น้ำอัดลม ฯลฯ
ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ และไขมันอิ่มตัว

การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายโดยทำการออก กำลังกาย 30 นาที ต่อวัน ทุกวัน
หรือเกือบทุกวันสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวและระดับไตรกลีเซอไรด์ได้
อาหารที่ได้รับการแนะนำว่าดี คือ เนื้อปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 เช่น แมคคอรอล เทราท์ แฮริง ซาร์ดีน ซึ่งเป็นปลาเขตหนาวจะมีกรดไขมันโอเมกา 3 มากกว่าปลาที่อยู่ในเขตร้อน แทนที่การกินเนื้อหมู เนื้อวัวที่มีไขมันอิ่มตัวมากและเป็นผลเสียต่อสุขภาพ โดยจากผลการวิจัยพบว่า กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มระดับ DHL Cholesterol ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์อัมพาตได้
ถ้าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่ช่วยให้ระดับไตรกลีเซ อไรด์ลดลง ก็จำเป็นต้องใช้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งส่วนมากจะมีราคาแพง เช่น ยากลุ่ม fibrates เป็นต้น หรือยากลุ่ม Niacin เช่น Niaspan ยาพวกนี้สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่การใช้ยาควรอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์มากกว่าที่คนไข้จะไปเที่ยวซื้อยากิน เอง พยายามออกกำลังกายและควบคุมอาหารจะดีที่สุด เพราะทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายและจิตใจโดยรวม ที่สำคัญไม่เปลืองเงินมากด้วยครับ

คอเลสเตอรอล (Cholesterol)


คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์และสัตว์ มีคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ร่างกาย ทำงานได้ เพราะนอกจากอยู่ในเลือดแล้ว ยังครอบคลุมทุกส่วนในร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อของเซลล์จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน และมีมากในสมอง กับไขสันหลัง ซึ่งในไขสันหลัง และสมองนั้นมีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบถึง 1 ใน 4 นอกจากนี้ยังพบมากตามเนื้อ และใต้ผิวหนัง คนอ้วนจะมีไขมันตามบริเวณดังกล่าวมากกว่าคนผอม
คอเลสเตอรอลนั้นถูกผลิตขึ้นในตับ แล้วถูกส่งไปยังส่วนต่างๆ ให้แก่เซลล์ โดยผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งเซลล์จะรับไปในจำนวนที่มันต้องการ แล้วส่วนที่เหลือที่เกินความต้องการจะยังคงติดกรังอยู่ในเส้นเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว แต่หากเกิดกับเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็ปรากฎอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
คอเลสเตอรอลนั้นจะสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงอย่างเงียบๆ ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด เสมือนกับมัจจุราชที่ก้าวเท้าเข้าหาอย่างเงียบๆ
แต่ทว่าตัวคอเลสเตอรอลนั้น ใช่ว่าจะส่งผลเสียแก่ร่างกายเสมอไป คอเลสเตอรอล นั้นได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดดีและชนิดไม่ดี
ชนิดดีเรียกว่า HDLs (High Density Lipoproteins) ได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้น เพื่อนำไปใช้ ชนิดนี้จะช่วยขับ คอเลสเตอรอลที่เกินต้องการออกจากร่างกายด้วย
ชนิดไม่ดีเรียกว่า LDLs (Low Density Lipoproteins) ได้จากอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ
ดังนั้นเวลาดูค่า หรือระดับของ คอเลสเตอรอล ในร่างกายควรที่จะดูที่สัดส่วนของ HDL กับ LDL จะดีกว่า
และเป็นเรื่องที่น่าแปลก จากการศึกษา พบว่ามีจำนวนสัดส่วนที่มากพอสมควร ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด กลับมีระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายต่ำหรือเป็นปกติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ได้เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล เองโดยตรง แต่สิ่งที่เป็นผลร้ายกับร่างกายคืออนุภาคออกซิไดซ์ของ LDL หรือ คอเลสเตอรอล ที่ไม่ดีนั่นเอง

วันนี้หลายคนคงได้เข้าใจแล้วว่า จริงๆ แล้ว คอเลสเตอรอล ที่พูดถึงกันอยู่ทุกวันนั้นคืออะไร และในตอนต่อไป เราจะมาพูดถึง HDL กับ LDL อย่างละเอียด และเห็นภาพกว่านี้กัน

น้ำมันจมูกข้าวและรำข้าว


ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวจมูกข้าว

1. ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบตัน ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี
Gamma-Oryzanol,Phytosterol,Tocopherol,
Tocotrienol,Oleic Acid (Omega 9) ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น
- ช่วยลดคลอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein)
- ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ช่วยเพิ่มระดับของ HDL.(High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคลอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกา มีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานเป็นปกติ อวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ,สมอง,ตับ,ไต ฯลฯทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด,หัวใจวาย ,อัมพาต,อัมพฤกษ์ เป็นต้น

2. ป้องกันโรคเบาหวาน ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี ธาตุโครเมียม ซึ่งธาตุนี้เมื่อร่างกายดูดซึม
เข้า สู่ระบบไหลเวียนโลหิต จะทำหน้าที่ในการจับฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลิน คงตัวได้นานเกาะตามเซลล์ต่างๆของกล้ามเนื้อ ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมได้ง่ายขึ้น

3. ป้องกันโรคมะเร็ง ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี กลุ่มวิตามินอี
(Tocopherol,Tocotrienol), สเตอรอลจากพืช (Phytosterol),แกมม่า-โอไรซานอล (Gamma-Oryzanol) ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง

4. ป้องกันโรคสายตา ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี โปรวิตามินเอ - เบต้าแคโรทีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอได้ โดยเฉพาะโรคน้ำตาแห้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางามและมีสุขภาพเล็บที่ดี

5. ป้องกันโรคสมองเสื่อม ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี Omega3 ,กลุ่มวิตามินอี,แกมม่า-โอโรซานอล,
Phospholipid ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น มีคุณสมบัติรักษาสมดุลของระบบประสาท บำรุงสมองเสริมความจำ ป้องกันโรคสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์

6. บำรุงผิวพรรณ ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี Linoleic Acid (Omega 6),Squalene (Ceramide Group)
ซึ่ง เป็นส่วนประกอบสำคัญของชั้นผิวหนัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ผิวยืดหยุ่นลดริ้วรอย ป้องกันรังสี UV จากแสงแดด และช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ดูขาวกระจ่างใส

7. ทำให้นอนหลับสบาย ในน้ำมันรำข้าวสกัดมีสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยทำให้นอนหลับสบาย ,ช่วยลดความเครียด

8. อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี
วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น โครเมียม,แมกนีเซียม,แมงกานีส,สังกะสี,ซีลิเนียม,เหล็ก,โปแตสเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบหัวใจ ,ระบบประสาท ,ระบบสมอง และอวัยวะอื่นๆ

9.ทำ ให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี สาร Policosanol (โพลิโคซานอล) ซึ่งสารตัวนี้ ทำหน้าที่เป็น Anti-platelet agent ซึ่งเป็นสารป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด มีระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

*** ข้อควรระวัง
เวลา เลือกซื้อให้ลองกัดชิมน้ำมันรำข้าจมูกข้าวที่ดีต้องมีรสหวาน ไม่เหม็นหืนเพราะขั้นตอนการผลิตเป็นหัวใจสำคัญ คือ ต้องนำข้าวที่ผ่านการขัดสีไม่เกิน 24 ชั่วโมงมาผลิต(มีเครื่องตรวจความสดของรำและจมูกข้าว)