วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตับนั้นสำคัญไฉน


ตับ เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เนื่องจากมีหน้าที่สำคัญในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยมีตำแหน่งอยู่บริเวณช่องท้องด้านขวา หนักประมาณ 4 ปอนด์ ลักษณะของตับจะเป็นเหมือนฟองน้ำซึ่งมีรูพรุนภายในจำนวนมากและภายในช่องว่างเหล่านั้นจะมีเลือดบรรจุอยู่ สำหรับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตับ จะมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกเป็นเส้นเลือดแดงที่มาจากหัวใจ แหล่งที่สองเป็นเส้นเลือดดำที่มาจากบริเวณลำไส้ ซึ่งจะนำสารอาหาร ตลอดจนสารพิษต่างๆมายังตับ ก่อนที่จะไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ตับจึงเป็นด่านแรกที่จะรับมือกับสารพิษเหล่านั้นโดยตร


หน้าที่ของตับ
1. เกี่ยวกับขบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต (การเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง)
เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต เป็น กลูโคส (ในขบวนการย่อยอาหารพวกแป้ง จะได้เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ที่เรียกว่า กลูโคส เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้เป็นพลังงานได้ )
นำกลูโคสส่วนเกินออกจากระแสเลือด
สร้าง & เก็บไกลโคเจน ( กลูโคสส่วนเกิน ที่เหลือจาการใช้งานของร่างกาย จะถูกเก็บไว้เป็นพลังงานสำรองที่ตับ ในรูปของไกลโค เจน ซึ่งเมื่อร่างกายต้องการใช้งาน ก็จะมีการสลายไกลโคเจน เป็นกลูโคสอีกครั้ง )
2. เกี่ยวกับขบวนการเมตาบอลิซึมของโปรตีน ( การเผาผลาญอาหารพวกเนื้อสัตว์ ถั่ว)
เปลี่ยนโปรตีน เป็น ยูเรีย (ในขบวนการย่อยโปรตีน จะได้เป็นกรดอะมิโนซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ นอก จากกรดอะมิโนแล้ว ในขบวนการดังกล่าวยังผลิต แอมโมเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงพยายามกำจัดแอมโมเนียออก จากร่างกาย โดยเปลี่ยนแอมโมเนีย เป็นยูเรีย แล้วขับออกทางปัสสาวะ )
สร้างกรดอะมิโน
กำจัดแอมโมเนียออกจากกระแสเลือด โดยเปลี่ยนแอมโมเนีย เป็น ยูเรีย แล้วขับออกทางไต
3. เกี่ยวกับขบวนการเมตาบอลิซึมของไขมัน
สร้างน้ำดี ซึ่งช่วยในการแตกตัวของไขมัน (เนื่องจากไขมันไม่สามารถรวมตัวกับน้ำได้ ดังจะเห็นได้จากน้ำมันจะแยกชั้นและลอยอยู่ เหนือน้ำ ในขบวนการย่อยก็เช่นเดียวกัน น้ำดีจะทำให้ไขมันแตกตัวและสามารถรวมตัวกับน้ำได้ หลังจากนั้นน้ำย่อยจึงสามารถย่อยไขมันได้ทั่วถึง)
4. เก็บสารที่ใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน (ฮีโมโกลบินเป็นสารในเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย)
5. เก็บวิตามิน A , D , E , K, แร่ธาตุ และไขมัน
6. สร้างน้ำเหลือง ซึ่งเป็นตัวกลางในการนำพาเม็ดเลือดขาวให้เคลื่อนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
7. ควบคุมสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
น้ำดี หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าน้ำดีเป็นเอนไซม์หรือน้ำย่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งที่จริงแล้วน้ำดีไม่ใช่เอนไซม์ เป็นเพียงแค่ตัวทำละลายที่ช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยไขมันทำงานง่ายขึ้น ซึ่งน้ำดีจะถูกสร้างขึ้นที่ตับ แล้วไปเก็บที่ถุงน้ำดีซึ่งมีลักษณะเป็นรูปลูกแพร์ อยู่ข้างใต้ตับ โดยน้ำดีนั้น ประกอบด้วยของเหลว ,รงควัตถุ , เกลือ และคลอเรสเตอรอล
นิ่วในถุงน้ำดี ปัญหาที่พบได้บ่อยที่ถุงน้ำดี คือ การเกิดนิ่ว นิ่วจะมีลักษณะเป็นก้อนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีลักษณะแข็งก็ได้ เนื่องจากในก้อนนิ่วประกอบด้วยคลอเลสเตอรอลเป็นส่วนใหญ่ แล้วหลังจากนั้นจึงมีรงควัตถุและเกลือแคลเซียมมาพอกที่ก้อนดังกล่าว ทำให้ก้อนดังกล่าวมีลักษณะแข็งขึ้น (จากความเชื่อนี้ เชื่อว่า นิ่วนั้นเกิดขึ้นที่ถุงน้ำดี ) แต่แพทย์บางท่านเชื่อว่าก้อนนิ่วนั้นมีต้นกำเนิดภายในตับ แล้วมีการเคลื่อนที่มาที่ถุงน้ำดี ซึ่งเป็นสถานที่เก็บน้ำดี แล้วหลังจากนั้นจึงเริ่มขยายขนาดและแข็งขึ้น การตรวจนิ่วด้วยx-ray อาจตรวจไม่พบในกรณีที่ก้อนนิ่วนั้นไม่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ สีของนิ่วพบว่ามีได้หลากหลายตั้งแต่ ดำ น้ำตาลเทา ขาว แดง หรือ เขียว และภายในแกนกลางของก้อนนิ่วจะประกอบด้วยแบคทีเรียหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ
นิ่วสามารถตรวจพบได้ทั้งในถุงน้ำดี และท่อน้ำดีของตับ ซึ่งก้อนนิ่วอาจไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ถ้าก้อนนิ่วนั้นมีขนาดเล็กพอที่จะผ่านท่อน้ำดีและขับออกจากร่างกายได้ แต่ถ้าก้อนนิ่วนั้นมีขนาดใหญ่ จนไม่สามารถผ่านท่อน้ำดีออกไปได้ ก้อนนิ่วก็จะติดอยู่ในถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดี และเป็นสาเหตุของการอักเสบหรือการติดเชื้อในที่สุด ทำให้มีอาการปวดท้องส่วนบนอย่างมาก เป็นไข้ อาเจียร เหนื่อย นอกจากนี้อาจมีอาการในส่วนอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับตับและถุงน้ำดี ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ปวดศีรษะ อาการทางผิวหนัง และอื่นๆ
ก้อนนิ่วขนาดใหญ่ที่บริเวณท่อน้ำดีใหญ่ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและเฉียบพลันหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันจำนวนมาก เนื่องจากไขมันจะกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี แต่ก้อนนิ่วในท่อน้ำดี จะกีดขวางการไหลของน้ำดีที่จะไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดดีซ่านและการอักเสบของถุงน้ำดีชนิดรุนแรง และบุคคลที่มีภาวะดังกล่าวจะพบว่าอุจจาระจะมีสีขาวเทาเนื่องจากสีน้ำตาลเขียวในอุจจาระนั้นมาจากสีรงควัตถุของน้ำดีนั่นเอง น้ำดีซึ่งไม่สามารถไหลออกไปได้จะคั่งอยู่ในถุงน้ำดีและตับ ซึ่งจะเกิดการดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ผิวหนังมีสีเหลือง หรือที่เรียกว่าภาวะดีซ่าน ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการปวด
ตับ หน้าต่างสะท้อนสุขภาพ
สารพิษต่างๆที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน ทั้งจากการรับประทาน (สารกันบูด สารปรุงรส ยาฆ่าแมลง เชื้อรา) การสูดดม การซึมผ่านผิวหนัง หรือแม้แต่สารพิษที่ร่างกายผลิตเอง ทั้งหมดนี้ต้องผ่านด่านป้อมปราการสำคัญ คือ ตับ เพื่อทำการขจัดสารพิษ ถ้าตับทำงานไม่ทัน สารพิษเหล่านี้จะถูกปล่อยสู่กระแสเลือด และไปยังสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
ปัญหาของตับที่พบได้บ่อย คือ การเกิดนิ่ว เนื่องจากนิ่วสามารถทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงต่างๆตามมา อาทิเช่น ภาวะตับอักเสบ (หมายถึง ภาวะที่เซลล์ตับเกิดการอักเสบ การเสื่อม และมีการตายของเซลล์) ซึ่งอาจพบร่วมกับภาวะดีซ่าน ภาวะตับโต การเบื่ออาหารและอาการไม่สบายท้อง บางครั้งจะอาเจียร หรือท้องเสียร่วมด้วย มีไข้เล็กน้อย ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีเทาขาว ซึ่งนั่นหมายถึงภาวะที่ไม่มีน้ำดีในทางเดินอาหาร
ภาวะตับอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ยา สารพิษต่างๆ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส หรือพาราสิต ตับอักเสบ-เอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งปนเปื้อนในอาหาร มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่น้อย จนอาจถึงแก่ชีวิต ตับอักเสบไวรัส-บี จะติดต่อทางเลือด และมีความรุนแรงมากกว่าตับอักเสบไวรัส-เอ อาการทางคลินิกของตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้นไม่สามารถแยกได้อาการตับอักเสบที่เกิดจากสารพิษ เช่น คลอโรฟอร์ม ฟอสฟอรัส เห็ด ยาบางชนิด อย่างไรก็ตามตับอักเสบนั้นก็มีผลต่อการทำงานของตับ และในทางการแพทย์ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่แล้วนั้นเกิดจากขบวนการสร้างและซ่อมแซมของร่างกายเอง ตลอดจนระมัดระวังและใส่ใจใส่ในเรื่องอาหารการกิน
ตับแข็ง เป็นภาวะที่เซลล์ตับมีการแข็งตัวและค่อยๆตาย ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากสุรา (แอลกอฮอล์) การขาดสารอาหาร หรือการติดเชื้อ อาการของตับแข็งได้แก่ วิงเวียนศีรษะ ไม่อยากอาหาร อาเจียน อุจจาระสีขาวเทา อ่อนเพลีย ปวด สำหรับผู้ที่เป็นตับแข็งในระยะแรก ถ้าสามารถกำจัดสาเหตุได้ทัน ตับจะค่อยๆซ่อมแซมตัวเองและอาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น ในทางตรงข้ามภาวะตับแข็งในระยะรุนแรงนั้น ตับจะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเอง และอาจถึงแก่ชีวิต
เนื่องจากยาหลายชนิด จะถูกขับออกทางตับ และยาเหล่านี้เมื่อผ่านมาที่ตับ ตับจะถือว่ายาเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามที่จะกำจัดออก นั่นหมายถึงว่ายิ่งมีปริมาณยามากขึ้นเท่าไหร่ ตับก็ยิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้นด้วย นอกจากยาแล้ว สารเคมีในอาหาร สารกันบูด สี สารปรุงแต่งรส& กลิ่น ก็ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเช่นเดียวกัน

มาบำรุงตับกันเถอะ

อาหารบำรุงตับ

อาหารที่ใช้ในการบำรุง ฟื้นฟูและล้างพิษตับ
(1.) เห็ดที่กินได้สามอย่างขึ้นไปอะไรก็ได้ เช่น เห็ดหอม + เห็ดหูหนูขาว + เห็ดหูหนูดำ…..ผสมมะตูมแห้ง + ใบเตย )

เครื่องปรุง ใช้เห็ดหอม + เห็ดหูหนูขาว + เห็ดหูหนูดำ (แห้ง) หรือ เห็ดฟาง + เห็ดนางฟ้า + เห็ดเป๋าฮื้อ (สด)
เห็ดสามอย่างที่ใช้อาจเป็น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาว เห็ดหูหนูดำ ฯลฯ เห็ดอะไรก็ได้ที่กินได้ สามอย่างขึ้นไป สดหรือแห้งก็ได้ เลือกเอาสามอย่างขึ้นไป จะเป็นสี่ ห้า หรือหกอย่างก็ได้ นำมาต้มเป็นน้ำซุปเห็ด หรือโดยต้มกับสาหร่ายทะเล หรือทำเป็นอาหารแบบต่าง ๆ เช่น ยำ ต้มยำ แกงเลียง แกงส้ม หรือเป็นส่วนประกอบในกับข้าวมื้อต่าง ๆ
วิธีทำน้ำซุปเห็ด นำเห็ดแห้งสามอย่างขึ้นไปล้าง แช่น้ำให้นิ่ม หั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มรวมกัน ใส่น้ำเยอะๆ นำมะตูมแห้งที่เป็นแว่นๆ มาปิ้งให้หอม ใบเตย 2 – 3 ใบ ใส่ลงไปต้มรวมกัน แล้วกรองดื่มเป็นน้ำซุปเห็ดส่วนเนื้อเห็ดอาจนำไปยำหรือผัดกับกะทิ
สรรพคุณ - ใช้เป็นอาหารบำรุงตับที่สำคัญมาก โดยอาจรับประทานร่วมกับมันฝรั่งต้มหรือนึ่ง จะช่วยบำรุงตับได้ดีมาก
- ช่วยล้างสารพิษหรือท็อกซินและไขมันที่พอกสะสมและตกค้างอยู่ในตับ ต่อต้านการเป็นมะเร็ง
- ลดอนุมูลอิสระ ลดการเกิดซีสต์ ถุงน้ำ เนื้องอก และเซลล์มะเร็งของอวัยวะภายในร่างกาย
- ช่วยสลายเยื่อพังผืดในช่องท้อง อุ้งเชิงกราน มดลูก
- ลดไขมันที่ล้นเกินบริเวณตับ (ไขมันพอกตับ) และไขมันในกระแสเลือด
- เพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว

(2.) ขมิ้นชัน ดีเหลือเกินครับสำหรับสมุนไพรตัวนี้ ทั้งช่วยในการบำรุง ฟื้นฟูและล้างขับพิษออกจากตับไปพร้อมๆกัน ได้ประโยชน์สองต่อเลยนะครับ ขมิ้นชันจัดอยู่ในกลุ่มสมุนไพรที่เป็นอาหารนะครับไม่ใช่ยา ขนาดปรืมาณที่กินก็คืน 5000 - 8000 มิลลิกรัมต่อวัน (ขนาดแคปซูลละ 500 มิลลิกรัมก็ตก 10 - 15 เม็ดเท่านั้น) กินครั้งเดียวก่อนจะนอน กินเป็นประจำทุกๆคืนก็ไม่มีโทษแต่อย่างใด

ที่สำคัญงดดื่มสุราหรือเลิกได้ไปเลยดี หันมารักษาบำรุงตับของเราเพื่อชีวิตของเราให้ยาวขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น