วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู่หลาน ( JIAOGULAN )




เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เจียวกู่หลาน

เจียวกู่หลาน มีอีกชื่อว่า “ปัญจขันธ์” ได้รับคัดเลือกเป็นสมุนไพรแห่งปี 2548 ร่วมกับฟ้าทะลายโจร จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เจียวกู่หลาน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gynostemma pentaphyllum จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดเถา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออก และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในประเทศจีนใช้แก้ไอ รักษาอาการอักเสบ ขับเสมหะ รักษาอาการหลอดลมเรื้อรัง และตับอักเสบจากการติดเชื้อ ในการแพทย์พื้นบ้านของญี่ปุ่น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้อักเสบ และบำรุงกำลัง สมุนไพรชนิดนี้มีประวัติการใช้มายาวนานในประเทศจีน และญี่ปุ่น ทั้งเป็นยาและเป็นอาหารเสริมสุขภาพ (อ้างอิงที่ 1)

มะรุม


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ มะรุม

มะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ เป็นอาหารอยู่ในหลายประเทศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lamk มะรุมมีชื่อเรียกต่าง ๆ คือ “drum stick tree” “horse radish tree” “kelor tree” ส่วนต่าง ๆ ที่ใช้รับประทานคือ ใบ ผล ดอก และฝักอ่อน สำหรับในประเทศไทย นิยมใช้ฝักมะรุมปรุงอาหารในรูปของแกงส้ม แกงอ่อม
การใช้ประโยชน์ทางยา พบว่า เกือบจะทุก ๆ ส่วนของต้นมะรุม มีการนำไปใช้ทางยาในแถบเอเชียใต้ ส่วนที่ใช้คือ ราก เปลือกต้น กัม (gum) ใบ ผล (ฝัก) ดอก เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ด (อ้างอิงที่ 1) ในตำรายาพื้นบ้าน ใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนดอกและผลเป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และแก้ไข้ ใช้ส่วนเมล็ดบดพอกแก้ปวดข้อตามข้อ และแก้ไข้ (อ้างอิงที่ 2) มีรายงานกล่าวถึงการนำพืชนี้มาใช้เป็นยาครอบจักรวาล (panacea) (อ้างอิงที่ 3)
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับโคเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาล และฤทธิ์ต้านการอักเสบ

สำหรับงานวิจัยที่น่าสนใจในสัตว์ทดลองมีโดยย่อดังนี้
ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝัก สารในกลุ่ม glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขและหนูแรท