วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันในเลือดอย่างหนึ่ง แต่ต่างจากโคเลสเตอรอลที่คนทั่วไปรู้จักกันดี เมื่อเรากินอาหารที่มีจำนวนแคลอรีมากกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ แล้วเก็บตุนไว้ในเซลล์ไขมัน ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมีผลเสียต่อสุขภาพ
ผลเสียต่อสุขภาพที่ว่าคือ   แม้โคเลสเตอรอลจะไม่สูงแต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงก็จะทำให้มีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากนี้ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบซึ่งอาจร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้
ภาวะที่อาจจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง มีดังนี้
  • ดื่มเหล้ามาก แอลกอฮอล์ทำให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น และทำให้การลดลงของไขมันในเลือดช้ากว่าปกติ
  • การกินอาหารที่มีแคลอรีมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตายมาก ส่วนเกินเหล่านี้จะกลายไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย
  • คนที่มีอายุมากขึ้น โดยธรรมชาติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นกว่าคนอายุน้อย
  • ยาบางอย่างที่บริโภคเข้าไป อาจทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุม กำเนิดบางชนิด
  • พันธุกรรมมีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ขึ้น ถ้าท่านมีญาติที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ท่านก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะภาวะนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • โรคบางอย่าง ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย โรคไต และโรคตับ
ท่านที่สงสัยว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของท่านสูงหรือไม่ อาจตรวจได้โดยการเจาะเลือด แต่ก่อนที่จะไปตรวจต้องเตรียมตัวโดยการงดอาหารตั้งแต่มื้อเย็นก่อนวันไปตรวจ จนถึงรุ่งเช้า หมอจะสั่งเจาะเลือดตรวจ Lipid Profile ซึ่งเป็นการตรวจไขมันหลายตัว รวมทั้ง HDL Cholesterol (โคเลสเตอรอลตัวดี) LDL Cholesterol (โคเลสเตอรอลตัวร้าย) และไตรกลีเซอไรด์ด้วย การตรวจนี้จะทำให้รู้ภาพรวมของไขมันในเลือด
ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงหรือไม่สูงนั้นจัดโดยความสัมพันธ์ กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนี้คือ
- ระดับสูงมาก คือ 500 มิลลิกรัมหรือมากกว่าต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับสูง คือ 200 มิลลิกรัมต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับกลาง คือ 150 ถึง 199 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
- ระดับปกติ คือ 1498 มิลลิกรัมหรือต่ำกว่า ต่อ 100 ลบ.ซม. ของเลือด
การควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ สามารถทำได้โดยการลดน้ำหนัก
ลดการกินของหวานหรืออาหารพวกน้ำตาล เช่น ของหวานพวกทองหยิบ ฝอยทอง คุกกี้ น้ำอัดลม ฯลฯ
ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ และไขมันอิ่มตัว

การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายโดยทำการออก กำลังกาย 30 นาที ต่อวัน ทุกวัน
หรือเกือบทุกวันสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวและระดับไตรกลีเซอไรด์ได้
อาหารที่ได้รับการแนะนำว่าดี คือ เนื้อปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 เช่น แมคคอรอล เทราท์ แฮริง ซาร์ดีน ซึ่งเป็นปลาเขตหนาวจะมีกรดไขมันโอเมกา 3 มากกว่าปลาที่อยู่ในเขตร้อน แทนที่การกินเนื้อหมู เนื้อวัวที่มีไขมันอิ่มตัวมากและเป็นผลเสียต่อสุขภาพ โดยจากผลการวิจัยพบว่า กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มระดับ DHL Cholesterol ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์อัมพาตได้
ถ้าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่ช่วยให้ระดับไตรกลีเซ อไรด์ลดลง ก็จำเป็นต้องใช้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งส่วนมากจะมีราคาแพง เช่น ยากลุ่ม fibrates เป็นต้น หรือยากลุ่ม Niacin เช่น Niaspan ยาพวกนี้สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่การใช้ยาควรอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์มากกว่าที่คนไข้จะไปเที่ยวซื้อยากิน เอง พยายามออกกำลังกายและควบคุมอาหารจะดีที่สุด เพราะทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายและจิตใจโดยรวม ที่สำคัญไม่เปลืองเงินมากด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น