ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma lucidum (Fr.) Karst
ชื่อพ้อง : Polyporus lucidum Fr.
วงศ์ : Ganodermataceae
ชื่ออื่นๆ : เห็ดจวัดงู, เห็ดนางกวัก, เห็ดหมื่นปี, เห็ดอมตะ, เห็ดกระด้าง, เห็ดไม้
ชื่อสามัญ : Ling Zhi
มื่อเอ่ยถึงเห็ดหลินจือตามตำนานในคัมภีร์โบราณของจีน "เสินหนงเปินเฉ่า" กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็นเจ้าแห่งชีวจิต (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
ชาวจีนโบราณยกย่องให้เห็ดหลินจือว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากมีสรรพคุณดีแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใดๆ ต่อร่างกาย
ชาวจีน โบราณยกย่องให้เห็ดหลินจืด เป็นเห็ดสิริมงคลสัญลักษณ์ แห่งชีวิตและโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากบรรดารูปปั้นเทพเจ้า "ฮก ลก ซิ่ว" ที่มีความหมายถึง ความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่ามีเทพเจ้าบางองค์ถือดอกเห็ดหลินจืออยู่ในมืออุปมา ดังคุณธรรมอันสูงส่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง
สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือ
นอกจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณแล้วเห็ด หลินจือมีสรรพคุณสามารถรักษาโรคได้จริงหรือไม่นั้น
นักวิจัยจากหลายๆ ประเทศเช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ได้ศึกษาถึงสรรพคุณของเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดหลินจือมีส่วนประกอบของสารที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่น โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide) ซาโปนิน (saponins) กรดอะมิโน (amino acid) สารสเตอรอยด์ (steroids) สารแอลคา-ลอยด์ (alkaloids) และสารไตรเทอพีน (triterpene)
นักวิจัยจากหลายๆ ประเทศเช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ได้ศึกษาถึงสรรพคุณของเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดหลินจือมีส่วนประกอบของสารที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่น โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide) ซาโปนิน (saponins) กรดอะมิโน (amino acid) สารสเตอรอยด์ (steroids) สารแอลคา-ลอยด์ (alkaloids) และสารไตรเทอพีน (triterpene)
Adenosine | การแก้ปวด |
Ganodemic acid R, S Ganosterone Glucan | การป้องกันตับ |
Polysaccharides, Glucans | การลดการอักเสบ |
Polysaccharides, Alkaloids | การควบคุมมะเร็ง |
Ganodemic acids, Cyclooctasulfur | บำรุงหัวใจ |
Ganodemic acids | การแแก้แพ้ |
Ganoderans | การลดไขมันในเลือด |
Ganoderol, Ganoderic | การลดน้ำตาลในเลือด |
Ploysaccharides, Protein | การปรับความดันโลหิต |
Nucieic acids | การสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค |
การสร้างอินเตอร์เฟียรอย (Interferon) | |
Adenosine | การลดการจับตัวของเกล็ดเลือด |
polysaccharides | |
polysaccharides | การสร้างโปรตีน |
การป้องกันรังสี |
จากสรรพคุณดังกล่าว จึงมีการสกัดสารที่อยู่ในเห็ดหลินจือให้เป็นเม็ดหรือผงเพื่อจำหน่าย โดยอาจจะผสมกับสาหร่าย น้ำตาล แป้ง และเกลือแร่บางชนิดเพื่อบำรุงร่างกาย และมีสรรพคุณในการควบคุมระบบไหลเวียนของโลหิต ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ ช่วยลดและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมโรคระบบทางเดินอาหาร
นอก จากนี้เห็ดหลินจือยังมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีสารที่ออกฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอก (antitumor) เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ควบคู่กับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน โดยนำเห็ดหลินจือที่ฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดดจนแห้งแล้วนำไปต้มใช้ดื่มแทนน้ำเป็นประจำ แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคเห็ดหลินจืออาจก่อให้เกิดอาการพ้ได้ เช่น เกิดอาการถ่ายท้อง ปากแห้ง ท้องอืด ผื่นค้นแต่ผลข้างเคียงเหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงเมื่อผู้บริโภคเกิดความเคยชิน
สรรพคุณทางการแพทย์ของเห็ดหลินจือ
สารเคมีที่พบในเห็ดหลินจือ มีมากมายหลายชนิด เมื่อวิเคราะห์ในสารสำคัญของเห็ดหลินจือพบว่า มีสรรพคุณทางการแพทย์ที่สำคัญหลายอย่างได้แก่
1. ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สารสกัดจากเห็ดหลินจืออาจช่วยต้านมะเร็งโดยการเพิ่มสารทำลายมะเร็งจากเม็ด เลือดขาว ได้แก่ สาร interleukin (IL) 1 beta, tumor necrosis factor (TNF) alpha, IL 6 และ interferon (IFN) gamma
2. ลดความดันโลหิต
สารประเภทไตรเทอร์ปีน มีหลายชนิด เช่น กรดกาโนเดอร์นิค (Ganodernic acid) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้
3. ยับยั้งโรคเอดส์
สารประเภทไตรเทอร์ปีน ที่น่าสนใจอีกอย่าง ชื่อว่า lucidumol A, และ ganoderic acid ทั้ง alpha และ beta และสารอีกหลายชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโรคเอดส์ (Anti HIV1) (อ้างอิงที่ 7 , 8) ได้ อย่างไรก็ตามการทดลองในคนไข้จริงยังไม่พบผลดีที่ชัดเจนในคนไข้โรคเอดส์ (อ้างอิงที่ 9) แต่สารสกัดจากเห็ดหลินจือก็ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสประเภทอื่นได้อีก เช่น ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในตระกูลของงูสวัด และอีสุกอีใส (type 1 (HIV-1) and type 2 (HIV-2)) โดยทดลองกับ Verocell ที่ติดเชื้อไวรัสนี้
4. ลดน้ำตาลในเลือด 1. ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สารสกัดจากเห็ดหลินจืออาจช่วยต้านมะเร็งโดยการเพิ่มสารทำลายมะเร็งจากเม็ด เลือดขาว ได้แก่ สาร interleukin (IL) 1 beta, tumor necrosis factor (TNF) alpha, IL 6 และ interferon (IFN) gamma
2. ลดความดันโลหิต
สารประเภทไตรเทอร์ปีน มีหลายชนิด เช่น กรดกาโนเดอร์นิค (Ganodernic acid) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้
3. ยับยั้งโรคเอดส์
สารประเภทไตรเทอร์ปีน ที่น่าสนใจอีกอย่าง ชื่อว่า lucidumol A, และ ganoderic acid ทั้ง alpha และ beta และสารอีกหลายชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโรคเอดส์ (Anti HIV1) (อ้างอิงที่ 7 , 8) ได้ อย่างไรก็ตามการทดลองในคนไข้จริงยังไม่พบผลดีที่ชัดเจนในคนไข้โรคเอดส์ (อ้างอิงที่ 9) แต่สารสกัดจากเห็ดหลินจือก็ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสประเภทอื่นได้อีก เช่น ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในตระกูลของงูสวัด และอีสุกอีใส (type 1 (HIV-1) and type 2 (HIV-2)) โดยทดลองกับ Verocell ที่ติดเชื้อไวรัสนี้
212สารกลุ่มกลัยแคน (Glycan) เช่น กาโนเดอร์แลน (Ganoderan A, B, C) มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
5. ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ในเห็ดหลินจือมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้
6. ช่วยบำรุงตับ
ฤทธิ์ทางด้านการจับอนุมูลอิสระ (Free Radical Scavenger) ซึ่งมีผลต่อการลดความเป็นพิษจากสารพิษได้บ้าง
7. ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน
สารกลุ่มโปรตีน เช่น Ling zhi (LZ-8) พบว่ามีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยสามารถทั้งเพิ่มการแบ่งตัว (mitogenic) ต่อเซลล์ม้ามของหนู แต่กลับลดการสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งทำให้โรคเบาหวานบางชนิดของหนูลดลง (autoimmune diabetes)
เห็ดหลินจือกับโรคไต
จุฬาฯ ทดลอง “เห็ดหลินจือ” รักษาโรคไตเรื้อรัง ระบุช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต
ทางเลือกใหม่ใช้แทนการกินยากดภูมิคุ้มกัน
แพทย์จุฬาฯ ศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต
รศ.พญ.ดร.นาริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นคว้ารักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ วันละ 750-1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการใช้ยาขยายหลอดเลือด พบว่าช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน
“ โรค ไตเรื้อรังที่รักษาไม่ได้และไม่หายนั้นเป็นเพราะเราไม่ทราบกลไกการทำลายไต ที่แท้จริงแต่หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่าสาเหตุจากสารพิษในเลือด ทั้งจากสารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้สารชัยโคคายน์ที่ส่งเสริมการ อักเสบ (tumor necrosis factor alpha : ทีเอ็นเอฟอัลฟา) เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้สารหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นจนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้ ” นักวิจัยกล่าวทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เนฟโฟรสิส จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัดและหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน
ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณในการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอก่อให้เกิดการอุดตันและยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบเสื่อมและถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด
หลังจากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสา จึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของ ภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย
สำหรับอาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วใน ปัสสาวะต่อเนื่อง 5 – 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าสภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้นภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิม
“ปริมาณของสารจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้นจะอยู่ประมาณ 750-1,000 mgต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตได้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง” นักวิจัยกล่าว
นอกจากนี้ การบริโภคสารสกัดในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก แต่หากคนปกติทั่วไปต้องการบริโภคเห็ดหลินจือเพื่อบำรุงร่างกายก็อาจไม่จำเป็นต้องรับสารสกัดในขนาดสูงเช่นนั้นก็ได้
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และนักวิจัยกำลังต่อยอดศึกษาหากลไกทำลายไตในโรคไตเรื้อรังชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มไตอักเสบจากเบาหวานที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของภาวะไตวายเรื้อรังขั้นสุดท้าย รวมทั้งกำลังหาทางพัฒนาวิธีวินิจฉัยความผิดปกติของโรคในระยะเริ่มต้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น