วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

กาวเครือขาว



กวาวเครือขาว  ( Pueraria mirifica ) เป็นสมุนไพรที่กล่าวได้ว่า เป็นราชินีสมุนไพรไทยโดยแท้  มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี สรรพคุณโดยรวมจะเน้นไปใน การทำให้ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีวัยทอง  กลับสดชื่น กลับมาเป็นสาว นอกจากนี้ กวาวเครือยังสนับสนุนความเป็นผู้หญิง ไปในทำนองให้สวยงามขึ้น และบำรุงอวัยวะภายใน ไปในทางที่ ส่งเสริมวัยเจริญพันธ์

สรรพคุณกวาวเครือ ในตำราแพทย์แผนโบราณ
     ตำราแผนโบราณได้กล่าวไว้ดังนี้ " คนอ่อนเพลีย ผอมแห้ง แรงน้อย นอนไม่หลับ กินไม่ได้  กินยานี้ 20-30 วัน โรคอ่อนเพลียหายสิ้น นอนหลับสบาย  เดินไปมาได้ตามปกติ  กวาวเครือบำรุงโลหิต บำรุงสมอง บำรุงกำลัง หญิงอายุ 70-80 ปี  กินแล้วอ้วนท้วนสมบูรณ์ กลับมีระดูอย่างสาว นมมีไตแข็งขึ้นอีก  ชายกินแล้วนมแตกพานแข็งเหมือนเด็กหนุ่ม มีกล้าม เนื้อหนังเต่งตึง ท่านห้ามเด็กหนุ่มสาวกิน   ตำผงกินกับน้ำนมวัว หัวคิดสมองปลอดโปร่ง    ทรงจำตำราโหราศาสตร์ได้ถึง 3 คัมภีร์  เนื้อหนังจะนิ่มนวลดุจเด็ก  6  ขวบ  อายุจะยืนถึง 3,000 กว่าปี  โรคาพยาธิจะไม่มาเบียดเบียนเลย  รับประทานกับน้ำข้าวที่เช็ดไว้ให้เปรี้ยว จะมีเนื้อหนังนิ่มนวลดุจเทพธิดา รับประทานกับน้ำมันเนยหรือน้ำผึ้ง จะอายุยืน ท่องโหราศาสตร์ได้ 3 คัมภีร์  จะรับรองมาตุคามได้ถึงพันคน ( น่าจะเป็นกวาวเครือแดง ) รับประทานกับนมเปรี้ยว อายุยืน ผมไม่ขาว  ฟันไม่หลุด  เนื้อหนังไม่ย่น รับประทานกับตรีผลา (มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก)  จักษุที่มัวหรือมีฝ้า แลไม่เห็นก็จะเห็น แช่นมควายทาผม ผมจะงอกดี ผมขาวจะดำ ทาผมด้วยน้ำมันงา ผมจะไม่ขาว เนื้อหนังจะไม่ย่น โรคาพยาธิทุกจำพวกจะไม่มีเลย  แช่น้ำนมทา คนที่เสียจักษุโดยมีฝ้าปิด 6 เดือน  จะกลับเห็นดีตามเดิม ( อ้างอิงที่ 1 )

สารสำคัญในกวาวเครือ
สาร สำคัญ ที่พบในกวาวเครือขาวมีมากมาย ที่เด่น ๆ ได้แก่  miroestrol, daidzein, genistin, puerarin, สารต่าง ๆ เหล่านี้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็น ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) คือเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพืช และออกฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจนทุกประการ โดยออกฤทธิ์ที่ตัวรับ  ( receptor ) เดียวกับเอสโตรเจน สารไฟโตรเอสโตรเจน พบมากในถั่วเหลือง และมีรายงานมากมายว่า สามารถมีฤทธิ์ลดการสร้างอนุมูลอิสระ  ( Anti- oxidant )  ซึ่งอาจต้านมะเร็งและช่วยในโรคหัวใจ และมีรายงานว่าการทานธัญพืชและพืชตระกูลถั่วเหลืองสามารถลดอุบัติการณ์ มะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก และลำไส้ใหญ่ และช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้กวาวเครือสามารถจะลดมะเร็งหรือ ป้องกันมะเร็ง ได้ แต่ก็มีงานวิจัยว่ากวาวเครือขาวไม่มีผลส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมหลายชนิด   และยังอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดได้ด้วย

ความปลอดภัย
ปัจจุบันกวาวเครือชนิดที่รับประทาน ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ  และยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ซึ่งมีกวาวเครือในปริมาณ ประมาณ 100 มก. เป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย ผ่านการวิจัยในความเป็นพิษระยะยาวในหนูทดลองแล้ว ( อ้างอิงที่ 12 ) และการใส่ร่วมกับสมุนไพร เช่น ตรีผลา คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก  ก็มีในตำรับโบราณ ทั้งนี้ ตรีผลา ก็มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย การทานร่วมกับกวาวเครือ จึงช่วยให้มีสมดุลที่ดี

กวาวเครือจึงปลอดภัย ถ้ามีการรับประทานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การรับประทานกวาวเครืออย่างปลอดภัย
จะ ต้องมีการตรวจร่างกายที่จำเป็นก่อนการรับประทานได้แก่ ตรวจเต้านม ตรวจการทำงานของตับ และมดลูก ทั้งนี้เพราะกวาวเครือไม่เหมาะในผู้ที่เป็นโรคของเต้านม มดลูกและ ตับ โรคของเต้านมที่เป็นอยู่ก่อนจะห้ามรับประทานกวาวเครือโดยเด็ดขาดทุกชนิดไม่ ว่าจะเป็น ซีสต์ เป็นพังผืด และการตรวจเต้านมยังเป็นการตรวจสกรีนหามะเร็งในเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้ก็ควรตรวจมดลูกก่อน เพราะกวาวเครือ ก็ไม่น่าจะเหมาะสมในผู้ที่เป็นโรคในมดลูกทุกชนิดเช่นกัน  เช่น พังผืด เนื้องอก รวมทั้งก้อนในมดลูก แม้จะเป็นคนที่ปวดประจำเดือนบ่อย ๆ ก็ไม่ควรรับประทาน 

เมื่อรับประทานกวาวเครือ ควรมีการหยุดทานเป็นระยะในช่วง 7 วันสุดท้ายของแต่ละเดือนเหมือนกับการรับประทานยาคุมกำเนิด เพื่อให้โอกาสมดลูกได้พักและมีประจำเดือนตามปกติ  และผู้ที่รับประทานกวาวเครือ ก็ควรได้รับการตรวจภายในและมะเร็งเต้านมเป็นระยะ ตามที่กำหนดไว้เช่น ทุก 6 เดือน หรือ หนึ่งปี
ข้อห้ามของการรับประทานกวาวเครือ
1. ผู้ที่เป็นโรคของทรวงอก เช่น เป็นซีสต์ เป็นพังผืด เป็นก้อน เป็นเนื้องอก เป็นมะเร็ง
2. ผู้ที่เป็นโรคของมดลูกและรังไข่ ทุกชนิด ทำนองเดียวกันกับทรวงอก
3. ผู้ที่ดื่มสุรา มีประวัติเป็นโรคตับ เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง
4. ไม่ใช้ในเด็กและสตรีมีครรภ์
5. สตรีวัยเจริญพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์
โดยสรุป  กวาวเครือขาวจึงเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ และมีความปลอดภัยถ้ารู้จักใช้อย่างเหมาะสม ถือป็นสมุนไพรประจำชาติไทยที่มีคุณภาพสูงใคร ๆ ก็สู้ไม่ได้ และเป็นสมุนไพรที่นำชื่อเสียงมาให้ประเทศไทยอย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง
1. หลวงอนุสารสุนทร. ตำรายาหัวกวาวเครือ. กรมการพิเศษ เชียงใหม่ โรงพิมพ์อุปะติพงศ์ พฤษภาคม 2474
2.ผลของกวาวขาว  ( Pueraria mirifica Sahw et Suvatabandhu ) ต่อยุงก้นปล่อง  
( Anopheles dirus Peyton, Harrison ) . Abstract 16th Conference on Science and Techonology of Thailand 25-27 October 1990:16
3. ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดของกวาวขาวในหนูขาว. วารสารคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2529-2530: 13-14 ( 2/1 ):75-78
4. ผลของกวาวเครือขาวต่อการสืบพันธ์ของนกพิราบ การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18  กรุงเทพ  ประเทศไทย  27-29 ตุลาคม 2535:178
5. ผลของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดต่อการสืบพันธ์ของหนูขาวเพศเมีย การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20  สงขลา ประเทศไทย  19-21 ตุลาคม 2537:280
6. สมุนไพร อาหารเสริม ฮอร์โมน เอกสารประกอบการสัมนาวิชาการ สมุนไพรกับสตรีวัยทอง. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันแพทย์แผนไทย   19-20 กรกฏาคม 2542 : 35-417.
7.  ภาพรวมงานวิจัยและพัฒนากวาวเครือตั้งแต่อดีต 2524 ถึงปัจจุบัน 2541 : เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการกวาวเครือ สถาบันแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 1 ธันวาคม 2541:13-25
8. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับกวาวขาวในลูกสุนัข.  ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายสัตวแพทย์ กองสาธารณสุข เทศบาลนครเชียงใหม่ เชียงใหม่
9. พิษของกวาวเครือขาว ( Pueraria mirfica )  ต่อนกกระทาพันธ์ญี่ปุ่น. วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2527; 11 ( 1-2 ) :46-55
10. อิทธิพลของกวาวเครือขาว ต่อนกกระทา การสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2535; 25(3):107-14
11. การศึกษาผลของกวาวขาวที่มีต่ออวัยวะสืบพันธ์ต่อมหมวกไต ตับ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ในหนุขาวเพศผู้ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2527
12. พิษวิทยาของกวาวเครือขาว. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น