วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยา อาหารเสริม ที่ไม่ควรกินคู่กัน

 
หากคุณมั่นใจว่าผู้ป่วยเลือดจาง ต้องกินอาหารเสริมในกลุ่มธาตุเหล็กให้มาก "คุณคิดผิด" หมอกฤษดาแจกแจงคู่ยา "มิตร-ศัตรู" ให้เข้าใจกันชัดๆ

“Good things come in pair” ดังวลีฝรั่งนี้ที่บอกว่าของทุกอย่างมีคู่แฝดอยู่เสมอ อาจเป็นแฝดเหมือนหรือแฝดต่างก็ได้ ซึ่งก็พ้องกับทางพระที่ว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา และโลกธรรมแปดที่เล่าถึงคู่แห่งสัจธรรมในโลกนี้ มีสุขแล้วก็มีทุกข์ มีสรรเสริญก็ย่อมมีนินทา มีลาภก็ย่อมมีเสื่อมลาภได้ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้น ในเรื่องของโอสถรักษาโรคก็ย่อมต้องมีคู่แฝดของมัน ที่ต้องมีทั้งแฝดที่ดีและแฝดที่ร้ายคล้ายเทวากับซาตานซึ่งเคยมีกรณีที่ถึง แก่ชีวิตมาแล้ว ซึ่งโดยมากมักเกิดจาก “ความไม่รู้” ในฤทธิ์อันไพศาลของยาแต่ละเม็ดที่กินอยู่ โดยเราจะค่อยมาดูกันไปทีละแฝดครับ
แฝดที่ดี

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ท้องเสีย! จุลินทรีย์ดี-ร้ายไม่สมดุล

‘จุลินทรีย์’ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในร่างกายของเรา และอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าจุลินทรีย์มีทั้งชนิดที่ให้คุณและให้โทษ โดยต้องรักษาให้จำนวนจุลินทรีย์สองชนิดนั้นอยู่ในระดับสมดุลแล้วร่างกายจะ แข็งแรง

และวันนี้ ‘ภาษาหมอ’ มีจุลินทรีย์ตัวดีมาแนะนำให้รู้จัก อย่าง ‘บิฟิโดแบคทีเรีย’ อาศัยอยู่ในลำไส้ ช่วยป้องกันสารพิษดูดซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย สร้างกรดแลคติคและกรดไขมันห่วงโซ่สั้นที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวที่ทำให้คนเราเกิดอาการท้องเสีย เช่น E.Coli, Clostridium perfringens, Salmonella spp. และยังช่วยกระตุ้นการสร้างวิตามิน เพิ่มการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย 

อีกตัวมีชื่อว่า ‘แลคโตบาซิลไล’ คอยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ แย่งอาหารของจุลินทรีย์ตัวร้ายทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้

แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น จุลินทรีย์ตัวดีจะลดจำนวนน้อยลงกว่าตัวร้าย จึงทำให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย อุจจาระสีคล้ำและเหม็นมาก รวมทั้งภูมิต้านทานลดลง ทำให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ง่าย

เมื่อเป็นเช่นนั้น ‘พรีไบโอติก’ หรือกลุ่มหนึ่งของอาหารฟังก์ชั่น มีหน้าที่มากกว่าอาหารที่ให้ความอิ่ม จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยคงสภาพความสมดุลของจุลินทรีย์ เพราะมีคุณสมบัติป้องกันและรักษาโรค เนื่องจากพรีไบโอติกมีสารที่ร่างกายย่อยไม่หมด หรือลำไส้ส่วนบนไม่สามารถย่อยได้จึงถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อให้เป็น อาหารของจุลินทรีย์ตัวดี ไม่ให้ถูกลดจำนวนลง

พรีไบโอติกซึ่งกำลังได้รับความนิยม คือ อินนูลิน และโอลิโกฟรุกโตส พบมากในรากชิโครี อาร์ติโชก หัวหอม หัวหอมใหญ่ ต้นหอม กระเทียม ถั่วเหลือง หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ หรือกล้วย 


บทความจาก เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 29 ธันวาคม 2552

ตั้งค่าระบบขับถ่าย

ดูและระบบขับถ่ายเราให้ดีสุขภาพก็จะดีด้วย โดยหลังจากการรับประทานอาหารสู่ระบบการย่อยที่เริ่มจากปาก กระเพาะ ลำไส้เล็ก ไปถึงลำไส้ใหญ่ อวัยวะยาว 5-7 ฟุต รับหน้าที่ย่อยอาหารชนิดที่ย่อยไม่ได้ในอวัยวะก่อนหน้า หากเป็นน้ำหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จะถูกดูดซับไว้ และในทางตรงกันข้ามหากเป็นกากหรือของเสียก็จะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 1-2 วัน แต่ถ้ามีอาการท้องผูกหรือไม่สามรถขับถ่ายได้ทุกวันเป็นกิจวัตร ของเสียคงค้างจากการย่อยสลายเหล่านั้นจะบูดเน่า กลายเป็นสารพิษที่ถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ นานวันเข้าอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกว่า คุณควรดูแลระบบขับถ่ายเสียใหม่ คือ ระบบ ขับถ่ายไม่ดี ท้องผูก เป็นริดสีดวงทวาร ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย ลำไส้อักเสบ ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่สดใส เป็นผดผื่น แพ้ง่าย เกิดแผลร้อนในบริเวณช่องปากเป็นประจำ มีกลิ่นปาก-กลิ่นตัว รู้สึกเบื่ออาหาร ท้องอืดและผายลมบ่อยครั้ง รวมทั้งปวดศีรษะ รู้สึกหวานๆ ร้อนๆ คล้ายจะเป็นไข้ และภูมิต้านทานต่ำ 


ในความเป็นจริงนั้น ภายในลำไส้จะมีจุลินทรีย์มากกว่า 400 ชนิด เป็นล้านล้านตัว ที่มีทั้งให้ประโยชน์และก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย สำหรับชนิดที่มีประโยชน์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย หรือแลคโตบาซิลไล สามารถช่วยป้องกันสารพิษไม่ให้ร่างกายดูดกลับสู่กระแสเลือด รวมทั้งคอยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน แย่งอาหารจากจุลินทรีย์ตัวร้าย โดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะลดจำนวนลงเมื่อมีอายุมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็มีสารอาหารบางอย่างช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ตัวดีได้
 
 บทความจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 28 ธันวาคม 2552